DC Field | Value | Language |
dc.contributor.author | วัลลีย์ ฤกษ์ทอง | - |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T06:58:49Z | - |
dc.date.available | 2023-09-18T06:58:49Z | - |
dc.date.issued | 2016 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1537 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารคุณภาพงานจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนอรพินพิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยใช้วงจรการบริหารคุณภาพงาน (PDCA) ตามกระบวนการบริหารคุณภาพงาน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผนงาน 2) การปฏิบัติงานตามแผน 3)การตรวจสอบ และ 4) การปรับปรุงแก้ไข ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive Sampling) จำนวน 21 คน ผลการศึกษาพบว่า
1. การวางแผ่นงาน เป็นการวางแผ่นโดยยีดสภาพปัญหา ความต้องการ และให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นปัจจัยหลัก มีการวางแผนร่วมกันระหว่างบุคลากรทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษามีการวิเคราะห์สภาพภายในและภายนอก ที่ตอบสนองความต้องการของบุคลากรภายในสถานศึกษาที่เป็นผู้ให้บริการและสอดคล้องกับความปรารถนาของผู้มีส่วน
เกี่ยวข้อง กับการรับบริการทางการศึกษาทุกฝ่ายมีการมุ่งเน้นกระบวนการสร้างคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด และกำหนดโครงการพัฒนาในแต่ละด้านตรงกับความต้องการของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ 2. การปฏิบัติงานตามแผน มีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานตามแผน โดยแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อศึกษาแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาตามเป้าหมายในแต่ละปีการศึกษาให้มีความชัดเจน เพื่อนำสู่การจัดลำดับโครงการ กิจกรรมในแผนปฏิบัติการประจำปี การประชุมชี้แจงแผนปฏิบัติการประจำปีและดำเนินการปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนการที่วางแผนงาน โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการและปฏิบัติตามแผนงานของสถานศึกษา 3. การตรวจสอบ กรตรวจสอบการวางแผ่นงาน จากความสำเร็จของแผนงานผลของการดำเนินโครงการและกิจกรรมอยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม คะแนนคุณภาพการศึกษา 93.35 การ
ปฏิบัติงานตามแผน ทำการตรวจสอบจากผลการประเมินคุณภาพภายในของโรงเรียน การปฏิบัติงานตามแผนอยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม คะแนนคุณภาพการศึกษา 94.10 และการตรวจสอบ จากผลการประเมินคุณภาพภายนอกของโรงเรียน คุณภาพการจัดการศึกษาระดับพื้นฐานอยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม สมควรรับรองคุณภาพการศึกษา คะแนนคุณภาพการศึกษา 94.42 ยกเว้นตัวบ่งชี้ที่ 5 การทดสอบรวมยอดระดับชาติเป็นไปตามเกณฑ์ อยู่ในระดับคุณภาพพอใช้ 4. การปรับปรุงแก้ไข นำผลการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการกิจกรรมมาดำเนินการปรับปรุงให้เกิดการพัฒนาทั้งในด้านผู้เรียน ด้านครูผู้สอนหรือด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านผู้บริหารและด้านสถานศึกษา รวมทั้งเปิดโอกาสให้บุคลากรภายในสถานศึกษามีส่วนร่วมในการแก้ขข้อบกพร่อง มีการพัฒนาระบบวางแผนบริหารจัดการสถานศึกษา การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | en_US |
dc.subject | การศึกษาขั้นพื้นฐาน | en_US |
dc.subject | การจัดการเรียนการสอน | en_US |
dc.title | การบริหารคุณภาพงานจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชน : กรณีศึกษาโรงเรียนอรพินพิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน | en_US |
dc.title.alternative | Quality Management of Basic Education Facilitation by Private Schools : A Case Study of Oraphinpittaya School, Muang District, Lamphun Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: |
|