Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1455
Title: | ปัจจัยกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัด ของประเทศไทย |
Other Titles: | FACTORS DETERMINING MINIMUM WAGE AND MINIMUM WAGE IN THAILAND |
Authors: | ปราโมทย์, บุญตันจีน |
Keywords: | ค่าจ้างขั้นต่ำ ข้อมูลพาแนล วิเคราะห์ปัจจัย เอนโทรปีสูงสุดทั่วไป วิเคราะห์การตอบสนอง minimum wage panel data factors analysis Generalized Maximum Entropy (GME) impulse response analysis |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนคำร้างขั้นด่ำในระดับ จังหวัดและหาตัวแบบ (Model) เพื่อคำนวณหาค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมในระดับจังหวัด จากผลการ วิเคราะห์องค์ประกอบพบว่าปัจจัยที่กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1) ค่าใช้จ่ายและรายได้ ของแรงาน 2) ความสามารถของผู้ประกอบการและสภาพเศรษฐกิจ และผลของแบบจำลองทั้งวิธีการ ประมาณค่าเอนโทรปีสูงสุดทั่วไป (Generalized Maximum Entropy: GME) และวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinany Least Squares: OLs) ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำที่สำคัญ คือ ดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นค่าใช้จ่ายของแรงงานและรายได้ของแรงงาน และผลิตภัณฑ์มวลรวม จังหวัดที่แท้จริง เป็นตัวแทนด้านความสามารถของผู้ประกอบการและสภาพเศรษฐกิจ จากผลการประมาณค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายพบว่า การประมาณด้วยวิธีที่ศึกษานี้ให้ผลที่ดีกว่า กล่าวคือค่าจ้างขั้นต่ำที่ประมาณการได้นั้นมีความสอดคล้อง ให้ใกล้เคียงและเพียงพอกับคำาใช้จ่ายที่จำเป็นของแรงงานทั้งค่าใช้จ่ายตามอัตภาพและคุณภาพช่อง แรงงานมากกว่าซึ่งไม่ต่ำเกินไปทำให้แรงงานไม่สามารถดำรงชีพอยู่ใด้และไม่สูงเกินไปจนเป็นภาระต้นทุน ของผู้ประกอบการ อีกทั้งยังพบว่าค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ย 300 บาท/วัน ควรจะเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นไปตามปัจจัยด้านความจำเป็นของลูกจ้างและสภาพเศรษฐกิจและสังคมในขณะนั้น จากผลการวิเคราะห์การตอบสนอง (Impulse Response Analysis) ของตัวแปรพบว่าเมื่อเกิด การเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันของตัวแปร การปรับตัวของค่าจ้างขั้นต่ำในตลาดเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพจะใช้ เวลานานมากเกินกว่า 30 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการต่อรองในลักษณะการต่อรองร่วม (Collective Bargaining) ของฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้างผ่านกลไกการตลาดนั้นคงทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จากผลการศึกษาเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สำคัญว่าในการพิจารณากำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ สามารถพิจารณาเพียง 2 กลุ่ม โดยใช้ปัจจัยกลุ่มความจำเป็นของลูกจ้าง คือ ดัชนีราคาผู้บริโภค และ ปัจจัยกลุ่มเศรษฐกิจและสังคม คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดที่แท้จริง และการแทรกแซงโดยรัฐผ่าน การกำกับดูแลด้วยกระบวนการของคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำยังคงมีความจำเป็น |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1455 |
Appears in Collections: | ECON-Dissertation |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pramote_boontunjeen.pdf | 136.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.