Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1448
Title: ปัญหาพิเศษเสนอต่อโครงการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ ความสมบูรณ์แห่งปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ความต้องการด้านสวัสดิการของพนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รูปแบบมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล
Other Titles: Abstract of special problem submitted to the Graduate School Project of Maejo University in partial fulfillment of the requirements for the degree of Master of Business Administration in Business Administration WELFARE NEEDS OF THE MAEJO UNIVERSITY PERSONNEL UNDER THE AUTONOMOUS UNIVERSITY PATTERN
Authors: ลัดดา, ปันตา
Issue Date: 2000
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัดถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในด้านสวัสดิการ ของพนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รูปแบบมหวิทยาลัยในคำกับของรัฐบาล และ 2) ศึกษาปัญหา และอุปสรรคในต้านสวัสดิการของพนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รูปแบบมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐบาล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จำนวน 63 ชุด ทำการ วิเคราะห์ หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเบียงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (T-test) โดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ระยะ เวลาในการทำงาน เงินเดือนปัจจุบัน สถานภาพ จำนวนบุตร ประสบการณ์ในการทำงาน สังกัด บ้านที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน พบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น หญิง และมีอายุระหว่าง 20-29 ปี มีการศึกษาระดับบริญญาโท รองลงมาคือระดับปริญญาตรี ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีตำแหน่งานสายวิชาการ (อาจารย์ มีระยะเวลาในการทำงาน 1 - 3 ปี และได้รับเงินเดือนในปัจจุบัน 8.268 - 9. 151 บาท มีสถานภาพโสดเป็นส่วนใหญ่ และยังไม่มี บุตร มีประสบ การณ์ในการทำงาน 1 - 3 ปี ปฏิบัติงานอยู่สังกัดหน่วยงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้" แพร่เฉลิมพระเกียรติ และมีบ้านพักในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาศัยอยู่กับบิดา - มารดา การศึกษาความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันและสภาพคาดหวังในด้านสวัสดิการของ พนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รูปแบบมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล พบว่า ความคิดเห็นต่อ สภาพปัจจุบัน ต่อปัจจัยด้านงานมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางปัจจัยด้านสวัสดิการมี ความคิดเห็นในระดับปานกลาง และปัจจัยด้านการจัดการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความคิดเห็นในสภาพคาดหวังต่อปัจจัยด้านงาน ปัจจัยด้านสวัสดิการและปัจจัยด้านการจัด การ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อมูลเกี่ยวก็บี้ปัญหา อุปสรรคและช้อเสนอแนะ เกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รูปแบบมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล พบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไม่มีความความพึงพอใจใน สวัสดิการที่มีอยู่ในปัจจบัน ร้อยละ 59.9 ไม่ได้รับความสะดวกในการ ให้บริการ สวัสดิการ ร้อยละ 76.5 ไม่ได้รับความรวดเร็วในการให้บริการ ร้อยละ 88.2 สำหรับด้าน การประชาสัมพันธ์หรือการจัดการประชุมสัมมนา การให้ความรู้ในเรื่องสวัสดิการที่มีอยู่อย่างทั่วถึง และสม่ำเสมอ พบว่า หนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ส่วนใหญ่ ไม่ทราบในเรื่องการประชาสัมพันธ์ และการจัดประชุม ร้อยละ 66 7 พนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่วนใหญ่ เห็นว่าทางหน่วยงานไม่มี การสอบถามความคิดเห็นและลอบถามความต้องการในสวัสดิการอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 98 การทดสอบสมมดิฐานยอมรับสมมติฐานที่ว่าพนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ ปฏิบัติงาน ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ กับ พนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ = แพร่เฉลิม พระเกียรติ ที่ปฏิบัติงาน ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-เพร่เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ มีความ ต้องการสวัสดิการในรูปแบบมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ไม่แตกต่างกัน การวิยพบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความต้องการสวัสดิกา ปัจจัยด้านงาน ปัจจัยด้านสวัสดิการและปัจจัยด้านการจัดการ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ค่าตอบแทนของพนักงานมหาวิทยาลัยจะมากกว่าข้าราชการ จำนวน 1.5 เท่า และ 1.7 เท่า แต่พนักงานมหาวิทยาลัยยังคงต้องการสวัสดิการ เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจ และเป็นแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัย ต่อไป
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1448
Appears in Collections:BA-Bachelor’s Project

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ladda pinta.pdf79.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.