Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1442
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธนัตศักดิ์, ชัยยศ-
dc.date.accessioned2023-05-26T02:34:29Z-
dc.date.available2023-05-26T02:34:29Z-
dc.date.issued1999-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1442-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร 2) ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อการดำเนินงาน โครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรกับเจ้าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อการดำเนินงานโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร 5) ปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อการดำเนินงานโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 46 ราย และเจ้าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 56 ราย รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 102 ราย ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด สำหรับประชากร กลุ่มที่ 2 คือเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร ผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างแบบมีระบบได้เกษตรกร 85 ราย รวมผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่มทั้งสิ้น 187 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ได้ผ่านการทดสอบความตรงและความเที่ยงแล้ว ข้อมูลได้วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ เจ้าหน้าที่และเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและ สังคมดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 43 ปี ส่วนมากแต่งงานและมีบุตรแล้ว การศึกษาส่วนใหญ่จบปริญญาตรี รายได้เฉลี่ย 15,920 บาท/ เดือน มีระยะเวลาทำงานเฉลี่ย 18 ปี และมีที่ดินเป็นของตนเองเฉลี่ย 36 ไร่ 2) เจ้าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49 ปี ส่วนมากแต่งงานและมีบุตรแล้ว ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ย 18,886 บาท/เดือน มีระยะเวลาทำงานเฉลี่ย 15 ปี และมีที่ดินเป็นของตนเองเฉลี่ย 29 ไร่ 3) ในส่วนเกษตรกรเกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49 ปี ส่วนมากแต่งงานและมีบุตรแล้ว ส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา มีรายได้เฉลี่ย 3,612 บาท/เดือน มีที่ดินเป็นของตนเองเฉลี่ย 29 ไร่ สำหรับแหล่งสินเชื่อที่ใช้กู้ยืมคือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 /ปี ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเห็นด้วยในระดับมากต่อการดำเนินงานโครงการทั้ง 7 ขั้นตอน ส่วนเจ้าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเห็นด้วยในระดับมาก 6 ขั้นตอน มีเพียงขั้นตอนเดียวที่ระบุว่าเห็นด้วยในระดับน้อย คือ การจัดทำทางเลือกสำหรับเกษตรกร การเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรกับเจ้าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการปรับโครงสร้าง และระบบการผลิตการเกษตร ผลการวิจัยโดยการเปรียบเทียบจากค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสรุป ได้ว่า ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเจ้าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยเห็นด้วยในระดับมากต่อวิธีการดำเนินงานโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร มีเพียงการดำเนินงานในด้านการจัดทำร่าง เลือกที่เจ้าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ย เห็นด้วยในระดับน้อย แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้ให้ข้อมูลทั้งสองกลุ่มจะมีระดับความคิดเห็น ในระดับเดียวกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย พบว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีความคิดเห็น คือ ประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าวในระดับที่สูงกว่าเจ้าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร สำหรับผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างเจ้าหน้าที่และเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรนั้น ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติใน ด้าน 1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมาย 2) การเสนอทางเลือกการผลิต 3) การสำรวจความต้องการของเกษตรกร 4) การช่วยเกษตรกรจัดทำแผนการผลิต สำหรับด้านดำเนินการด้าน อื่น ๆ พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) ในด้านการสนับสนุนแผนการผลิตของเกษตรกร 2) การจัดทําการเลือก และ 3) การติดตามนิเทศ และรายงานผลสำหรับปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงาน โครงการ คปร. ทั้ง 7 ขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมาย พบว่า พื้นที่เป้าหมายไม่มีความเหมาะสม 2) การจัดท่าทางเลือก พบว่า เกษตรกรไม่มีส่วนรวมในการจัดทําทางเลือกและทางเลือก ไม่คำนึงถึงตลาด 3) การเสนอทางเลือก พบว่า เกษตรกรขาดความรู้ทำให้เป็นปัญหาในการเสนอทางเลือก และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมไม่เสนอข้อมูลที่แท้จริง ให้เกษตรกรตัดสินใจ 4) การสำรวจความต้องการของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรไม่มีความมั่นใจในโครงการ และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมขาดการคัดเลือกเกษตรกรที่มีคุณภาพ 5) การช่วย เกษตรกรจัดทําแผนการผลิต พบว่า เกษตรกรขาดความรู้ ความสนใจในการจัดทำแผนการผลิต และเจ้าหน้าที่ขาดการรับผิดชอบในการช่วยเกษตรกรจัดทำแผนการผลิต 6) การสนับสนุนแผนการผลิต พบว่า การสนับสนุนแผนการผลิตมีความล่าช้า ไม่ทันฤดูกาล รวมถึงเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมและให้คำแนะนำน้อย 7) การติดตามนิเทศ และรายงาน พบว่า เจ้าหน้าที่ขาดการติดตามและนิเทศงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.titleความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่และเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการปรับภาควิชา โครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรในจังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.title.alternativePINIONS OF OFFICERS AND FARMERS ON THE OPERATION RESTRUCTURING AND AGRICULTURAL PRODUCTION SYSTEM PROJECT, SURATTHANI PROVINCE, THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:AP-Dissertation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tanatsak_chiyot.pdf98.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.