Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1441
Title: | ศึกษานโยบายอัตราค่าเล่าเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคสมทบ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Other Titles: | THE STUDY ON TUITION RATE POLICIES OF PART-TIME UNDERGRADUATE STUDENTS, MAEJO UNIVERSITY |
Authors: | สุขุม, พันธุ์ณรงค์ |
Issue Date: | 2000 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษานโยบายอัตราค่าเล่าเรียนนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคสมทบ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2) ศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างอัตราค่าเล่าเรียนนักศึกษาภาคสมทบกับนักศึกษาสามัญ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 3) ศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างอัตราค่าเล่าเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคสมทบ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับอัตราค่าเล่าเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคสมทบสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ 4) ศึกษาผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับนักศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อมีการปรับเปลี่ยนอัตราค่าเล่าเรียน 5) ศึกษาแนวทางของสถาบันเกี่ยวกับการบริหารการเงินในอนาคต ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคสมทบ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างตามวิธีการของ Tull and Hawkins ทั้งหมด 170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้คือแบบสอบถาม มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และการวิเคราะห์งบประมาณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ นโยบายค่าเล่าเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคสมทบในปัจจุบันอยู่ในอัตราที่ ใกล้เคียงกับการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่า และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ไม่ได้ปรับค่าเล่าเรียนอย่างต่อเนื่อง โดย ทิ้งช่วงเวลาการปรับค่าเล่าเรียนเป็นเวลานาน จนกว่าจะประสบปัญหาทางการเงิน เมื่อมีการปรับค่าเล่าเรียนมักเป็นการปรับอย่างก้าวกระโดด จึงมีผลให้รายได้ที่แท้จริงของสถาบันมีค่าต่ำลง ในขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยต่อหัวมีค่าสูงขึ้น เมื่อนำโครงสร้างอัตราค่าเล่าเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคสมทบ เปรียบเทียบกับนักศึกษาภาคสามัญ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่าค่าเล่าเรียนรวมของนักศึกษาภาคสมทบสูงกว่าภาคสามัญอย่างมาก แต่ความแตกต่างที่เกิดขึ้นเกิดจากค่าหน่วยกิตในรายวิชาเท่านั้น ในส่วนค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่นำมาใช้ในกิจการมหาวิทยาลัยไม่มีความแตกต่างกันเลย เมื่อเปรียบเทียบค่าเล่าเรียนของนักศึกษาภาคสมทบ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าค่าเล่าเรียนรวมของนักศึกษาภาคสมทบในส่วนของ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐใกล้เคียงกัน โดยทุกสถาบันเก็บค่าหน่วยกิตเป็นอัตราส่วนสูงสุด แหล่งรายได้ใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังไม่มีการจัดเก็บ ซึ่งมหาวิทยาลัยอื่นมีการเก็บที่ชัดเจน และทำรายได้ค่อนข้างสูง คือ ค่าบำรุงศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต หากนำค่าเล่าเรียนรวมมหาวิทยาลัยของรัฐมาเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยในภาคเอกชน พบว่า มหาวิทยาลัยภาคเอกชน เก็บค่าเล่าเรียนรวมสูงกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐประมาณ 71-74% นักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาการบัญชีมีค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาและค่าใช้จ่ายส่วนตัวต่อภาคเรียนสูงสุด โดยนักศึกษาในทุกสาขาวิชาส่วนใหญ่เห็นว่า ค่าเล่าเรียนในปัจจุบันอยู่ในระดับ ปานกลาง และควรมีการเก็บค่าเล่าเรียนต่างกันในแต่ละสาขาวิชา โดยไม่เห็นด้วยที่จะเก็บค่าเล่าเรียนแบบเหมาจ่าย การปรับค่าเล่าเรียนควรมีการปรับเพียงครั้งเดียวให้ถึงระดับที่เหมาะสม โดยควรปรับตามภาวะเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนามหาวิทยาลัย และควรมีการปรับค่าเล่าเรียนทุกสาขาวิชาในอัตราเดียวกัน และ ไม่แน่ใจว่าถ้ามีการปรับค่าเล่าเรียนอีกเท่าตัวยังจะคงได้ศึกษาต่อไปหรือไม่ ในส่วนทุนการศึกษาในปัจจุบันมีจำนวนน้อย โดยควรจัดให้นักศึกษา เฉลี่ยต่อทุนต่อปีการศึกษา คือ 24,579.71 บาท และควรได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลร้อยละ 49.03 ของค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา และควรมีการจัดกองทุนเงินกู้เพื่อการศึกษาในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ความช่วยเหลือทางด้านงบประมาณจากทางรัฐบาลเป็นอัตราที่สูงมาก เมื่อเปรียบเทียบงบประมาณจากงบประมาณแผ่นดิน และงบประมาณเงินรายได้ที่มหาวิทยาลัยดำเนินการจัดหาเอง โดยได้รับทั้งหมด ในขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายหรือเงินลงทุนเพื่อการศึกษาของนักศึกษา หรือค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากนักศึกษาต่ำมากเมื่อเทียบกับงบประมาณทั้งหมด ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีแหล่งที่มาของเงินทุน 2 แหล่งที่สำคัญคือ เงินรายได้จากงบประมาณแผ่นดิน และงบประมาณเงินรายได้ที่มหาวิทยาลัยดำเนินการจัดหาเอง โดยได้รับความช่วยเหลือทางด้านงบประมาณจากทางรัฐบาลเป็นอัตราที่สูงมาก เมื่อเปรียบเทียบงบประมาณทั้งหมด ในขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายหรือเงินลงทุนเพื่อการศึกษาของนักศึกษา หรือค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากนักศึกษาต่ำมากเมื่อเทียบกับงบประมาณทั้งหมด |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1441 |
Appears in Collections: | BA-Dissertation |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sukhum_pannarong.pdf | 78.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.