Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1439
Title: การบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
Other Titles: Risk Management of Credits of Bank for Agriculture and Agricultural Co-operatives, Hangchat Branch, Lampang Province
Authors: สรพงษ์, กันทวงศ์
Issue Date: 2015
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า 2) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อ ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 3) เพื่อศึกษาแนวทางและกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อที่เหมาะสมสำหรับลูกค้าและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาห้างฉัตร จังหวัดลำปาง การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) และการเก็บแบบสอบถาม สรุปผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าของธนาคารด้านปัจจัยภายใน ซึ่งเกิดจากการที่ลูกค้าไม่ได้รับการศึกษาเพิ่มเติมในการประกอบอาชีพ มีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าของธนาคารด้านปัจจัยภายนอกนั้นพบว่า ลูกค้าถูกติดตามทวงถามจากการกู้เงินนอกระบบ และลูกค้าประสบภัยธรรมชาติ ฝนแล้ง น้ำท่วม ด้านกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาห้างฉัตร ได้มีการวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์สินเชื่อเชิงคุณภาพ (Qualitative) และมีหลักการแนวทางในการแก้ไขการบริหารความเสี่ยงตามหลักการวิเคราะห์ 6C's Credit คือ ลักษณะผู้ขอกู้ (Character) ความสามารถในการชำระหนี้ (Capacity) ทุน (Capital) หลักประกัน (Collateral) วัตถุประสงค์ของการนำเงินไปใช้ (Conditions) ปัจจัยเกี่ยวกับการค้า ระหว่างประเทศ (Country) ส่วนในแนวทางและกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อที่เหมาะสมสำหรับลูกค้าและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรนั้นด้านลูกค้านั้นควรพิจารณาตนเองในเรื่องแหล่งที่มาของรายได้ ซึ่งเมื่อกู้เงินมาแล้วสามารถชำระหนี้ได้ภายในกำหนด ควรมีการวางแผนการใช้จ่ายเงิน การจัดสรรเงินเพื่อลงทุนและชำระหนี้สินเมื่อมีรายได้ ด้านพนักงาน ควรสร้างมาตรฐานการทำงานใหม่ โดยการศึกษาคุณสมบัติลูกค้าที่กู้เงินให้มากขึ้น การลงพื้นที่สอบประวัติลูกค้า การให้ความสำคัญถึงแหล่งที่มาของรายได้ วัตถุประสงค์การกู้เงินให้สอดคล้องกับกระแสเงินสดของลูกค้า พนักงานควรศึกษาวิธีปฏิบัติที่ออกใหม่ และพนักงานควรได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเองในส่วนที่ยังบกพร่อง หรือสนใจศึกษาเพื่อให้งานธนาคารเติบโตต่อไป
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1439
Appears in Collections:BA-Dissertation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sorapong_kanthawong.pdf113.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.