Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1436
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เขมิกา, ธนธำรงกุล | - |
dc.date.accessioned | 2023-05-26T02:07:50Z | - |
dc.date.available | 2023-05-26T02:07:50Z | - |
dc.date.issued | 2020 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1436 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา โมเดลธุรกิจความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีแบบผสมผสาน (Mixed Method) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตรจำนวน 5 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ธีม (thematic analysis) และข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มเกษตรกรจำนวน 400 ราย ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา โดยนำข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณมาวิเคราะห์ข้อมูลใช้รูปแบบ Design Thinking เพื่อใช้ในการสร้างโมเดลธุรกิจความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า โมเดลธุรกิจของธุรกิจจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตรแบบ Business Model Canvas กลุ่มลูกค้าคือเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ใช้สินค้าจากการนำเสนอคุณค่าของสินค้าโดยเครื่องจักรกลการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ แข็งแรง ทนทาน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเกษตรกร โดยมีช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านทางหน้าร้าน นำเสนอคุณค่าโดยอาศัยการมี ความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าด้วยการติดตามการใช้สินค้าอย่างสม่ำเสมอและมีช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย การสร้างคุณค่าดำเนินการผ่านทรัพยากรหลักคือ ความรู้และเงินทุนที่ต้องใช้ในการประกอบธุรกิจ กิจกรรมหลักคือ การเลือกสรรผู้ผลิตและการสื่อสารคุณค่าให้กับลูกค้า พันธมิตรหลักคือ ผู้ผลิตและผู้กระจายสินค้า ทั้งนี้กระแสรายได้จะเกิดจากการใช้สินค้าและการซื้อสินค้าของทางร้าน โดยมีโครงสร้างต้นทุนซึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน สำหรับกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันแก่ผู้ประกอบธุรกิจพบว่า กลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันมากที่สุดของผู้ประกอบธุรกิจคือ กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง โดยการให้ความสำคัญกับเครื่องจักรกลการเกษตรที่นำมาจำหน่ายและการให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า เมื่อสินค้าเกิดปัญหาสามารถแก้ไขและให้คำแนะนำได้อย่างรวดเร็ว โมเดลธุรกิจของธุรกิจจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตรแบบ Lean Canvas กลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจคือ เกษตรกรซึ่งเป็นผู้ใช้สินค้า โดยธุรกิจแบบใหม่นี้จะอิงการเสนอคุณค่าให้แก่ลูกค้าและยึดคุณค่า ซึ่งยากต่อการลอกเลียนแบบนั้นไว้เป็นหลัก กระบวนการเริ่มด้วยการค้นหาปัญหาและคุณค่าที่แท้จริงผ่านกิจกรรมที่มีลูกค้าเป็นส่วนร่วมหลักอย่างต่อเนื่องจนได้รับการยืนยันสินค้าและคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ สำหรับกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันแก่ผู้ประกอบธุรกิจ พบว่า กลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันมากที่สุดของผู้ประกอบธุรกิจคือ ผู้นำด้านต้นทุนโดยต้นทุนในการดำเนินงานที่ต่ำ การลดค่าใช้จ่ายในการบริหารสินค้าคงคลัง ดูจากความถี่ของสินค้าที่ออกไป รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นการใช้สื่อสังคม ออนไลน์เข้ามาช่วยเพิ่มการรับรู้ของลูกค้า จะช่วยให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ดี การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการ จากการศึกษาแนวคิดโมเดลธุรกิจซึ่งมีองค์ประกอบทั้งหมด 9 ด้าน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจะเป็นการบูรณาการความรู้ในส่วนต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษามาสร้างโมเดลธุรกิจจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตร แต่ในการสร้างโมเดลธุรกิจ ผู้วิจัยได้นำปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันมาร่วมวิเคราะห์กับโมเดลธุรกิจ ซึ่งจะทำให้โมเดลธุรกิจครอบคลุมทุกประเด็นปัญหาและทำให้โมเดลธุรกิจมีความชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันสำหรับธุรกิจจําหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตร อีกทั้งสามารถใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตร ที่ได้นำไปใช้ในการคิดกลยุทธ์หรือสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาดของกิจการได้ โดยการออกแบบสินค้าใหม่หรือการสร้างโปรโมชั่น รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งที่มีอยู่ภายในธุรกิจ | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | en_US |
dc.subject | โมเดลธุรกิจ | en_US |
dc.subject | ความได้เปรียบในการแข่งขัน | en_US |
dc.subject | ผู้ประกอบธุรกิจ | en_US |
dc.subject | เครื่องจักรกลการเกษตร | en_US |
dc.subject | Business Model | en_US |
dc.subject | Competitive Advantage | en_US |
dc.subject | Entrepreneurs | en_US |
dc.subject | Agricultural Machinery | en_US |
dc.title | โมเดลธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ จำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | BUSINESS MODEL TO CREATE COMPETITIVE ADVANTAGE OF AGRICULTURAL MACHINERY DISTRIBUTION BUSINESS IN CHIANG MAI PROVINCE | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | BA-Dissertation |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
khemika_thanathamrongkul.pdf | 130.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.