Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1410
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อรุณโรจน์, พวงสุวรรณ | - |
dc.date.accessioned | 2023-05-16T06:59:04Z | - |
dc.date.available | 2023-05-16T06:59:04Z | - |
dc.date.issued | 2019 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1410 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาถึงการรับรู้ของพนักงานโรงแรมและแรงงานภาคบริการจังหวัดเชียงใหม่ หลังการประกาศใช้มาตรฐานสมรรถนะขั้นพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน หรือ ACCSTP ในปี พ.ศ. 2558 จะทำให้ทราบถึงการรองรับการเปิดเสรีของแรงงานภาคบริการการ ท่องเที่ยว โดยเฉพาะในธุรกิจโรงแรมและการบริการ โดยให้ความสำคัญกับการแข่งขันของ ตลาดแรงงานที่เสรีของประเทศสมาชิก AESAN ที่เป็นผลเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2015 เป็นเวลา 1 ปี รวมถึงการกำหนดแนวทางในการพัฒนาแรงงานในภาคบริการการท่องเที่ยวในอนาคตที่จะมีการ ขยายตัวขึ้นจากการเติบโตของตลาดการท่องเที่ยวในภูมิภาคด้วย ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.) เพื่อศึกษาการวางแผนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจโรงแรมและแรงงานภาคบริการ จังหวัดเชียงใหม่ หลังการประกาศใช้มาตรฐานสมรรถนะขั้นพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยว แห่งอาเซียน ปี 2558 2.) เพื่อพัฒนากระบวนการเตรียมความพร้อมของธุรกิจโรงแรมและแรงงาน ภาคบริการจังหวัดเชียงใหม่หลังการประกาศใช้มาตรฐานสมรรถนะขั้นพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพ ท่องเที่ยวแห่งอาเซียน ปี 2558 และ 3.) เพื่อประเมินผลการปรับตัวของธุรกิจโรงแรมและแรงงานภาคบริการจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะขั้นพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพ ท่องเที่ยวแห่งอาเซียน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยใช้แบบสอบถาม สำหรับบุคลากร ในธุรกิจโรงแรมที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสมรรถนะ ในแผนกต้อนรับส่วนหน้า แผนกแม่บ้าน แผนก บริการอาหารและเครื่องดื่ม และแผนกครัว รวมถึงนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสถาบันต่างๆ โดยให้ตอบคำถามแบบให้คะแนนแบบเป็นระดับ โดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นธุรกิจโรงแรมจำนวน 181 แห่ง และแรงงานภาคบริการในอนาคตจำนวน 317 รายผลการศึกษาพบว่าในส่วนธุรกิจโรงแรมมีการรับรู้ข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับ ร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ ผู้บริหารหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อต่อการการวางแผนการบริหารทรัพยากร มนุษย์ในธุรกิจโรงแรมและแรงงานภาคบริการจังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต 4.67 ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน 66.28) ด้านการวางแผนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในธุรกิจโรงแรมและแรงงานภาคบริการจังหวัดเชียงใหม่ หลังการประกาศใช้มาตรฐานสมรรถนะ ขั้นพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน มีการรับรู้ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต 2.81 ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน 44.17) และมีการรับรู้ถึงสมรรถนะของบุคลากร วิชาชีพท่องเที่ยวมาตรฐานสมรรถนะขั้นพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน โดย เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต 4.66 ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน 59.08) ด้านแรงงานภาคบริการในอนาคต พบว่า มีการรับรู้ข้อมูลพื้นฐานอาเซียน โดย เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต 4.83 ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน 127.51) การรับรู้เกี่ยวกับ ข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลกรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน มีการรับรู้โดยเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต 4.56 ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน 101.98) และมีการรับรู้ ความสำคัญของมาตรฐานสมรรถนะสาขาวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ที่สุดเช่นกัน (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต 4.57 ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน 95.78) | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.subject | ท่องเที่ยวแห่งอาเซียน | en_US |
dc.title | การรับรู้ของพนักงานโรงแรมและแรงงานภาคบริการจังหวัดเชียงใหม่หลังการ ประกาศใช้มาตรฐานสมรรถนะขั้นพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียนปี พ.ศ. 2558 | en_US |
dc.title.alternative | The Recognition of Chiang Mai Hotel Staffs and Service Labour in Pursuit of the Imposed ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professionals (ACCSTP) in 2015 | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
Appears in Collections: | RAE-Technical Report |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
arunroj_puangsuwan.pdf | 10.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.