Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1390
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กมลพร, ปานง่อม | - |
dc.contributor.author | ศิริโสภา, อินทะวรรณวงศ์ | - |
dc.contributor.author | ขวัญจรัส, เชิงปัญญา | - |
dc.date.accessioned | 2023-05-15T08:22:03Z | - |
dc.date.available | 2023-05-15T08:22:03Z | - |
dc.date.issued | 2017 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1390 | - |
dc.description.abstract | โรคแอนแทรคโนสในพริกเป็นโรคที่ทำความเสียหายให้กับผลผลิตและคุณภาพของผลพริก ในพื้นที่ที่มีการระบาดมากกว่า 80% การระบาดพบมากในช่วงฤดูฝนที่มีอุณหภูมิและความชื้นที่ เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ทำให้เกิดการควบคุมและป้องกันโรคได้ยาก ปัจจุบัน สารประกอบที่ว่องไวปฏิกิริยาทั้งโมเลกุลของออกซิเจนและไนโตรเจนมีบทบาทสำคัญในช่วงการ ก่อโรคของเชื้อราสาเหตุโรคหลายชนิดในพืช ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบทบาท ของสารประกอบที่ว่องไวปฏิกิริยาทั้งในกลุ่มออกซิเจนและไนโตรเจนต่อการเจริญและการ เปลี่ยนแปลงของเซลล์เชื้อราก่อโรคแอนแทรคโนสในพริกที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดแพร่ โดยการใช้ สารเคมีที่ว่องไวปฏิกิริยาจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโมเลกุลของออกซิเจน คือ สารไฮโดรเจนเปอร์ ออกไซด์ และกลุ่มโมเลกุลของไนโตรเจน คือ สารโซเดียมไนโตรปรัสไซด์และโซเดียมไนไตร์ท โดย ละลายสารในตัวทำละลายจำนวน 3 ชนิด คือ โซเดียมคลอไรด์ น้ำกลั่น และฟอสเฟตบัฟเฟอร์ซาลีน และบ่มสปอร์เชื้อราก่อโรคเป็นเวลา 0, 3 และ 6 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่าสารละลาย ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ระดับความเข้มข้น 20 มิลลิโมลาร์ และสารละลายโซเดียมไนไตร์ทที่ระดับ ความเข้มข้น 100 มิลลิโมลาร์ ที่ทำการบ่มสปอร์เชื้อราเป็นเวลา 6 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการ ยับยั้งการงอกของสปอร์และการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อราก่อโรคแอนแทรคโนสในพริกได้ดี ที่สุด ขณะที่สารละลายโซเดียมไนโตรปรัสไซด์ พบว่ามีการงอกของสปอร์และการเจริญของเส้นใย เชื้อราก่อโรคแอนแทรคโนสในพริก การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวทำละลายทั้งสามชนิด พบว่าน้ำกลั่นและสารละลายโซเดียมคลอไรด์นั้นมีความเหมาะสมในการใช้เป็นตัวทำละลายสาร ว่องไวปฏิกิริยา เพราะให้ผลการการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราก่อโรคได้ดีที่สุด นอกจากนั้น สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ระดับความเข้มข้น 40 และ 80 มิลลิโมลาร์ สามารถลด เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคและความรุนแรงของโรคบนผลพริกได้ และสารละลายโซเดียมไนไตร์ทและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ระดับความเข้มข้น 10 มิลลิโมลาร์ มีเปอร์ซ็นต์การเกิดโครงสร้างอะเพลส โซเรียมได้เท่ากับ 12.61 และ 0.00% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ นั้นมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกของสปอร์และเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อรา ลดเปอร์เซ็นต์ การเกิดและความรุนแรงของโรค และการยับยั้งการพัฒนาโครงสร้างอะเพลสโซเรียมของเชื้อราก่อ โรคแอนแทรคโนสในพริกได้มากกว่าสารละลายโซเดียมไนไตร์ท และโซเดียมไนโตรปรัสไซด์ ตามลำดับ และโครงสร้างผิวของสปอร์เชื้อราก่อโรคนั้นมีลักษณะขรุขระและเกิดรอยบุ๋มขึ้นเมื่อ ได้รับสารว่องไวปฏิกิริยา ค่าพีเอชของสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และโซเดียมไนโตรปรัส ไซด์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่สารละลายโซเดียมไนไตร์ที่มีค่าพีเอชเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในอนาคต ควรมีการศึกษาหากลไกในระดับโมเลกุลเพื่อให้ทราบถึงปฏิสัมพันธ์ของสารว่องไวปฏิกิริยาต่อการ ควบคุมโรคแอนแทรคโนสในพริก และการทำการทดลองในสภาพของพื้นที่แปลงปลูกพริก เพื่อหา แนวทางในการป้องกันการระบาดของเชื้อสาเหตุโรคดังกล่าวต่อไป | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.subject | แอนแทรคโนส | en_US |
dc.subject | พริก | en_US |
dc.subject | สารว่องไวปฏิกิริยา | en_US |
dc.subject | ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ | en_US |
dc.subject | โซเดียมไนโตรปรัสไซด์ | en_US |
dc.subject | โซเดียมไนไตรท | en_US |
dc.subject | Anthracnose | en_US |
dc.subject | Chili | en_US |
dc.subject | Hydrogen peroxide. Sodium nitroprusside | en_US |
dc.subject | Reactive species | en_US |
dc.subject | Sodium nitrite | en_US |
dc.title | บทบาทของสารว่องไวปฏิกิริยาต่อการเจริญและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เชื้อรา ก่อโรคแอนแทรคโนสในพริก | en_US |
dc.title.alternative | Role of reactive species in fungal cellular developments of chili anthracnose disease | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
Appears in Collections: | RAE-Technical Report |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kamonporn_panngom.pdf | 50.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.