Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1379
Title: การสร้างและออกแบบเครื่องเร่งอนุภาคขนาดเล็กพลังงาน 50 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ เพื่อใช้การปรับปรุงพันธุ์พืช
Other Titles: Design and Construction the Compact Accelerator with Energy 50 keV for Plant Modification
Authors: กีรติญา, จันทร์ผง
ภควัตน์, คำสุข
Keywords: แหล่งกำเนิดไอออน
พลังงานต่ำ
ลำไอออน
เครื่องเร่งอนุภาค
Issue Date: 2017
Publisher: Maejo University
Abstract: การสร้างและออกแบบเครื่องเร่งอนุภาคขนาดเล็ก พลังงาน 50 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ เพื่อ ใช้การปรับปรุงพันธ์พืช ได้ทำการออกแบบแหล่งกำเนิดไอออนแบบใช้การกระตุ้นของคลื่นวิทยุใน แบบไม่ร้อน ด้วยความถี่ 13.6 เมกะเฮริซ์ เนื่องจากการเลือกใช้แหล่งกำเนอดชนิดนี้ ให้ประโยชน์ ด้านการคุ้มค่ามากกว่าแบบแคโทด และแบบการเผาแบบไส้ (Filament) แหล่งกำเนิดนี้ได้ลำไอออน ที่มีค่ากระแสเท่ากับ ประมาณ 30 - 40 มิลลิแอมแปร์ การดึงอนุภาคไอออนออกจากแหล่งกำเนิดใช้ ศักย์ไฟฟ้ามีค่า 0 โวลต์ ณ ตำแหน่งของอิเล็กโตรคตัวที่ 1 จากนั้นทำการโฟกัสลำไอออนด้วย ศักย์ไฟฟ้า 0-30 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ณ ณ ตำแหน่งของอิเลกโตรดตัวที่ 2 และณ ตำแหน่งของอิ เลกโตรดตัวที่ 3 ใช้ศักย์ไฟฟ้ามีค่า 0 โวลต์ ในการคำนวนและการออกแบบของระบบใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ Simion 8.0 ผลการออกแบบการดึงอนุภาคอาร์กอน, Ar สามารถโฟกัสได้ที่ตำแหน่ง 10 เซนติเมตร ระยะทางหลังจากตำแหน่งอิเล็กโตรดตัวที่ 3 ด้วยพลังงาน 30 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ในระบบท่อน้ำลำอนุภาค ได้ทำการออกแบบและสร้างเพื่อรองรับระบบสุญญากาศที่มีความดัน ประมาณ 0-10 torr โดยใช้ปั๊มสุญญากาศ 2 ชนิดทำงานสอดคล้องกัน คือปั๊มโรตารี่ (Rotary pump) และปั๊มตีฟฟิวชัน (Diffusion Pump) เครื่องเร่งอนุภาคติดตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ และทำงานได้
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1379
Appears in Collections:RAE-Technical Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kiratiya_chanphong.pdf21.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.