Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1296
Title: | การศึกษาและพัฒนาทักษะชุมชนในการสร้างเส้นทางและโปรแกรมท่องเที่ยว ตามแนวคิด Green Tourism อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Community's Skill Development on Creating Travel Route and Program under Green Concept in Mae Taeng District, Chiang Mai |
Authors: | สวิชญา, ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์ รักธิดา, ศิริ พัฒนพงศ์, จันทร์สว่าง |
Keywords: | ศักยภาพชุมชน บริการการท่องเที่ยว ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ |
Issue Date: | 2015 |
Publisher: | Chiangmai: Maejo University |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ฐานข้อมูลทรัพยากรที่มีอยู่เดิมในชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับฐานทรัพยากรท้องถิ่น 2) ความรู้และทักษะชุมชนด้านการจัดทำ เส้นทางและโปรแกรมการท่องเที่ยวสีเขียว (ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม) รวมถึงการให้บริการด้านการ ท่องเที่ยว และ 3) กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนด้านการจัดทำเส้นทางและโปรแกรมการท่องเที่ยวสี เขียวของชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวจาก บ้านเมืองกี้ดและบ้านแม่ตะมาน 10 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า บ้านเมืองกดมีทรัพยากรการท่องเที่ยวโดดเด่นในด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้แก่ การแสดงดนตรีพื้นเมือง เรียนทำอาหารพื้นเมืองและขนมพื้นเมือง อาชีพจัก สานและโคมไฟญี่ปุ่น บายศรีสู่ขวัญ นวดแผนไทย ขี่ช้าง ล่องแพยาง ชมสวนผลไม้ตามฤดูกาล ชมผัก สวนครัว วัดเมืองกด และเส้นทางน้ำตกตาดหมอก ส่วนที่เหลือจะต้องเป็นกิจกรรมตามฤดูกาล เช่น ประเพณีต่างๆ เช่น ลอยกระทง สงกรานต์ และสรงน้ำพระธาตุ ส่วนบ้านแม่ตะมานมีเป้าหมายในการจัดการท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร (Volunteer Tourism) และการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ มีกิจกรรมท่องเที่ยวตลอดทั้งปี คือ กิจกรรมเดินศึกษาธรรมชาติเส้นทางอนุรักษ์พันธุ์พืชกิจกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และกิจกรรมนักศึกษาแพทย์อาสาสมัคร ซึ่ง ประสานความร่วมมือกับอนามัยประจำตำบล ความรู้ของชุมชนด้านการพัฒนากิจกรรมและโปรแกรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลัง เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า มีการพัฒนาที่ดีขึ้นจากระดับ “ปานกลาง” (ค่าเฉลี่ย 12.70) เป็นระดับ “มาก” (ค่าเฉลี่ย 21.00) ในทุกประเด็นทั้งในด้านหลักการออกแบบโปรแกรมท่องเที่ยว องค์ประกอบ สำคัญของการท่องเที่ยว รูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชน ขีดความสามารถในการรองรับที่ควรพิจารณา การกำหนดขีดความสามารถ และวิธีคิดในการออกแบบโปรแกรมท่องเที่ยว ส่วนในด้าน ทักษะการจัดทำเส้นทางและโปรแกรมการท่องเที่ยวสีเขียว พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะ ชุมชนมีทักษะเพิ่มขึ้นจากเดิมในระดับ “มากที่สุด” คือ การกำหนดวันที่/เวลา การกำหนดกิจกรรม การกำหนดสถานที่ และการกำหนดผู้ติดต่อ ส่วนการกำหนดราคาและการกำหนดเงื่อนไขมีทักษะอยู่ ในระดับ “มาก” จากผลการทดสอบความสัมพันธ์ด้านลักษณะส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมพบว่า อายุ ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมที่ดีกว่าร่วมถึงทัศนคติในการมีส่วนร่วมที่ดีกว่าด้วย ส่วนผู้ที่มีรายได้น้อยจะมี ทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมที่ดีกว่าผู้ที่มีรายได้สูง ส่วนด้านความรู้พบว่าผู้ที่มีอายุน้อยและไม่มีภาระทาง ครอบครัวจะสามารถพัฒนาความรู้ได้ดีกว่า โดยความรู้ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือ ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนและการกำหนดขีดความสามารถในการรองรับ ของชุมชน กระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมทำให้ชุมชนสามารถพัฒนาความรู้และทักษะ ที่ดีขึ้น ทำให้ผู้วิจัยพบว่า สิ่งสำคัญในงานพัฒนาชุมชน คือ การชวนกลุ่มเป้าหมายคิดเพื่อชี้ปัญหาให้ ทุกคนเข้าใจ (ทำให้เกิดการรับรู้) ชวนคิดเสนอทางออกร่วมกัน (ทำให้เกิดการยอมรับที่จะพัฒนา) การ วางแผนและลงมือปฏิบัติร่วมกัน (ทำให้เกิดความตระหนักในเหตุการณ์ที่ประสบร่วมกัน) จึงจะทำให้ กลุ่มเป้าหมายได้รับประสบการณ์และเกิดกระบวนคิด (ทำให้เห็นความสำคัญ) ที่สามารถก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้จริง จากผลการสะท้อนความคิดหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาพบว่า ตัวแทนชุมชนมุ่งให้ความสำคัญในการพัฒนางานด้านการท่องเที่ยวของชุมชนว่า การมีส่วนร่วมเป็นสิ่ง ที่สมาชิกทุกคนควรให้ความสำคัญ เพราะทุกครั้งที่เรามีส่วนร่วมจะก่อให้เกิดการรับรู้และเข้าใจในสิ่ง ต่างๆ ร่วมกัน และเกิดการยอมรับในแนวทางที่ได้ตัดสินใจทำร่วมกันไม่ว่าผลจะดีหรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่ การช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน ดังนั้น ชุดความรู้ที่สำคัญในการ พัฒนาชุมชนท่องเที่ยวมิใช่เพียงเนื้อหาที่จะใช้ในการจัดการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ควรต้องให้ ความสำคัญในกระบวนการให้ความรู้ เพื่อสร้างการยอมรับภายในตัวบุคคล ทั้งในความรู้สึกและ ความคิดที่จะส่งผลต่อการปฏิบัติอย่างเต็มใจได้อย่างไร |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1296 |
Appears in Collections: | RAE-Technical Report |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
suwichaya_supaudomrerk.pdf | 50.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.