Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1291
Title: | การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน การผลิตเห็ดเศรษฐกิจในเขตภาคเหนือตอนบน |
Other Titles: | Application of Geographic Information System for Analysis Supply Chain of Economic Mushroom Production on Northern Thailand |
Authors: | วาสนา วิรุญรัตน์, วิรุญรัตน์ สมนึก สินธุปวน, สินธุปวน ศมาพร, แสงยศ |
Keywords: | โลจิตติกส์ เห็ดเศรษฐกิจ ภาคเหนือตอนบน Logistic Mushroom Economic northern Thailand |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Chiangmai: Maejo University |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ทำการประยุกต์ใช้สารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพระบบ โลจิสติกส์ในห่วงโซ่อุปทานของการผลิตเห็ดในเขตภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และพะเยา โดยใช้ฐานข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งของฟาร์มเห็ด แหล่งวัตถุดิบ หน่วยงานภาครัฐที่ เชี่ยวชาญ และตลาดในการจัดจำหน่าย และข้อมูลจากการสัมภาษณ์การจัดการฟาร์มและปัญหา สำคัญของผลิตเห็ดของเกษตรกร จำนวน 200 ราย พบว่า เกษตรกรผู้เพาะเห็ดส่วนใหญ่จะผลิตและ จำหน่ายปลีกในตลาดชุมชนหมู่บ้าน ตลาดระดับตำบล ซึ่งระยะทางที่ใกล้ที่สุดระหว่างตลาดและฟาร์ม ของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่อยู่ระหว่าง 1 เมตร-24.5 กิโลเมตร ระยะทางที่ใกล้ที่สุดระหว่าง ตลาดและฟาร์มของเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย ลำพูน ลำปาง และพะเยา อยู่ระหว่าง 81 เมตร 6.6 กิโลเมตร อยู่ระหว่าง 652 เมตร 1.8 กิโลเมตร อยู่ระหว่าง 1.2 กิโลเมตร 2.7 กิโลเมตร และ ระยะทาง 6.8 กิโลเมตร ตามลำดับ อีกหนึ่งช่องทางการจำหน่ายที่สำคัญคือ พ่อค้าคนกลางมารับ ผลผลิตที่ฟาร์มเกษตรกร หรือเกษตรกรนำส่งผลผลิต ณ จุดรับซื้อตามที่ตกลงกับพ่อค้าคนกลาง หรือ นำส่ง ณ ที่บ้านพ่อค้าคนกลางที่อยู่ในตำบลเดียวกัน สำหรับปัญหาสำคัญของการเพาะเห็ดในเขต ภาคเหนือตอนบน คือ ผลผลิตไม่สม่ำเสมอทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยมีสาเหตุเกิดจากความ แปรปรวนของสภาพอากาศและขาดการจัดการฟาร์มเห็ดที่ดี |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1291 |
Appears in Collections: | RAE-Technical Report |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wassana_wirunrat.pdf | 26.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.