Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1281
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorต่อพงศ์ ติ๊บมั่ง, ฐปน ชื่นบาล-
dc.contributor.authorทิพย์สุดา ตั้งตระกูล, ผานิตย์ นาขยัน-
dc.date.accessioned2023-03-29T04:42:14Z-
dc.date.available2023-03-29T04:42:14Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1281-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดการขยะมูลฝอยบนพื้นที่สูง กรณีศึกษา บ้านตุงลอย ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่การจัดการขยะมูลฝอยบน พื้นที่สูง กรณีศึกษา บ้านตุงลอย ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิธีการ จัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม กรณีศึกษา บ้านตุงลอย ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อประเมินผลการจัดการขยะมูลฝอยบนพื้นที่สูง กรณีศึกษา บ้านตุงลอย ตำบลอมก๋อย อำเภออม ก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การจัดเวทีชุมชน การศึกษาดูงาน ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอย โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ของ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 ครัวเรือน ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนบ้านตุงลอยตั้งที่ความสูง 1,012 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีเนื้อที่ ทั้งหมด 18,727.30 ไร่ ประชากรเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงโปว์ มีครัวเรือนจำนวน 558 ครัวเรือน ประชากรรวม 1,323 คน แยกเป็นชาย 637 คน หญิง 686 คน อายุเฉลี่ย 49.18 ปี ด้านการศึกษา ระดับประถมศึกษามากที่สุดร้อยละ 30.30 ด้านอาชีพทำการเกษตรมากที่สุดร้อยละ 66.39 และจาก การสำรวจปริมาณขยะมูลฝอยของกลุ่มตัวอย่าง สามารถจำแนกขยะ จำนวน 50 ครัวเรือน เป็น 4 ประเภท คือ 1) ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 48.83 2) ขยะทั่วไป ร้อยละ 24.123) ขยะย่อยสลายได้ ร้อยละ 21.76 และ 4) ขยะอันตราย ร้อยละ 5.29 ส่วนพฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ครัวเรือน ร้อยละ 76 ไม่ได้คัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง มีเพียงครัวเรือน ร้อยละ 24 ของกลุ่ม ตัวอย่างที่มีการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง มีการจัดเวทีเสวนา เพื่อหารูปแบบแนวทางในการจัดการ ตัวอย่างที่มีการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง มีการจัดเวทีเสวนา เพื่อหารูปแบบแนวทางในการจัดการ ขยะมูลฝอยร่วมกัน จากการศึกษาสำรวจข้อมูลเชิงตัวเลข เพื่อนำมาสะท้อนถึงสภาพปัญหาให้ชุมชน รับทราบ และตระหนักถึงชนิดและปริมาณของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดการยอมรับถึงสภาพ ปัญหาต่อการทิ้งขยะภายในชุมชนกลุ่มตัวอย่าง จึงต้องการหาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยของ ชุมชนร่วมกัน ได้มีการกำหนดกฎระเบียบการทิ้งขยะของชุมชนร่วมกัน มีวิธีการจัดการขยะ 6 ข้อ คือ 1) การคัดแยกขยะตามประเภทของขยะมูลฝอย 2) ได้มีการกำหนดพื้นที่ในการทิ้งขยะมูลฝอยจากครัวเรือนของหมู่บ้าน 3) มีการจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินงานการจัดการขยะมูลฝอย 4) ได้มีการ สร้างฐานการเรียนรู้ภายในชุมชน 5) มีการจัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะอย่างสม่ำเสมอภายใน ชุมชน 6) การส่งตัวแทนกลุ่มชาวบ้านหรือกลุ่มผู้นำชุมชนไปศึกษาดูงาน เพื่อนำความรู้มาร่วมกันแก้ไข ปัญหาและพัฒนาการจัดการขยะภายในชุมชน ส่วนการประเมินผลการจัดการขยะของชุมชน พบว่า ชุมชนได้นำความรู้ความเข้าใจจากการอบรม การศึกษาดูงานมาประยุกต์ใช้ในการจัดการขยะมูลฝอย โดยการคัดแยกขยะภายในครัวเรือนของตนเองก่อนนำไปทิ้งทุกครั้ง รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ ร่วมคิด ร่วมทำ และมีความเข้าใจในการปฏิบัติต่อการจัดการขยะมูลฝอย ทำให้สามารถลดปริมาณ ขยะภายในชุมชนได้ ซึ่งสามารถวัดได้จากการทิ้งขยะของทุกครัวเรือนที่ได้มีการคัดแยกขยะก่อนนำไป ทิ้ง จากเดิมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 ครัวเรือน ได้มีการทิ้งขยะทุกประเภทลงไปในหลุมขยะที่ได้ กำหนดไว้ของหมู่บ้าน ซึ่งจากการคัดแยกประเภทของขยะต่างๆ ทำให้มีการกำจัดขยะทั่วไป โดยการ เผาขยะตอนกลางวันภายในบริเวณครัวเรือนของตนเอง ซึ่งจะต้องมีผู้ควบคุมดูแลการเผาอย่างน้อย จำนวน 1 คน ส่วนขยะที่เผาไม่ได้ เนื่องจากมีขนาดใหญ่หรือเปียกชื้นจะนำไปทิ้งในหลุมขยะของ ชุมชน ส่วนขยะรีไซเคิลได้รวบรวมเก็บไว้ เพื่อนำไปขายให้กับพ่อค้ารับซื้อของเก่าภายในหมู่บ้าน เดือนละ 1 ครั้ง ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหารต่างๆ ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ส่วนเศษใบไม้ ชาวบ้านจะเก็บรวบรวมกองไว้เพื่อใช้ทำปุ๋ยหมัก และขยะอันตรายจะมีการเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำส่ง ให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลนำไปกำจัดต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้. สำนักหอสมุดen_US
dc.subjectขยะย่อยสลายen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยแม่โจ้ -- วิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectปุ๋ยหมักen_US
dc.subjectการจัดการสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectขยะอันตรายen_US
dc.subjectหลุมขยะen_US
dc.titleการจัดการขยะมูลฝอยบนพื้นที่สูง กรณีศึกษา บ้านตุงลอย ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeHighland Waste Management: A Case Study of Baan Tung Loi, Omkoi Sub-district, Omkoi District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:AST-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
torpong_tibmung.pdf70.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.