Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1249
Title: EFFECTS OF C-PHYCOCYANIN FROM Arthrospira  ON GROWTH PERFORMANCE AND  NON-SPECIFIC IMMUNE IN NILE TILAPIA  (Oreochromis niloticus) FINGERLINGS  UNDER BIOFLOC TECHNOLOGY
ผลของการใช้ C-phycocyanin จากสาหร่ายอาร์โธรสไปร่า  ต่อการเจริญเติบโต และระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ  ในลูกปลานิลที่อนุบาลในระบบไบโอฟลอค
Authors: Pukteema Yawichai
ภัคธีมา ยาวิชัย
Jongkon Promya
จงกล พรมยะ
Maejo University. Fisheries Technology and Aquatic Resources
Keywords: ลูกปลานิล
ระบบไบโอฟลอค
C-phycocyanin
การเจริญเติบโต
ภูมิคุ้มกัน
Tilapia fingerlings
Biofloc system
C-phycocyanin
Growth performance
Immune response
Issue Date: 2022
Publisher: Maejo University
Abstract: This research aimed to determine the effects of C-phycocyanin on growth performances, non-specific immune and cost in tilapia fingerlings nursing. The experiment was divided into 2 experiments. The first experiment was set up in a laboratory scale to study the suitable amount of C-phycocyanin for growth performances and lysozyme activity. Five treatments with three replication each  were applied including a basal diet (control), 0.1, 0.3, 0.5 and 1 percent C-phycocyanin supplementary feeds, respectively. The average weight of tilapia fingerlings was 0.41±0.01 g/fish. Fish were stocked 400 fish/m2 in a glass tank; water volume was 50 liters, providing oxygen all the time for 90 days. It was found that the tilapia larvae fed with 0.5 percent C-phycocyanin diet showed significantly higher weight gain, average daily growth, protein efficiency ratio than that of other treatments (P<0.05). But there was not significantly different with 0.3 percent C-phycocyanin supplementary feed. Survival rates were significantly different when compared with control. The tilapia fingerlings fed with 1 percent C-phycocyanin diet showed significantly higher cost than that of other treatments. Lysozyme activity tended to be higher with increased C-phycocyanin content. The water quality of the 5 experimental sets was within the standard. The second experiment was a pilot-scale to study growth performance, non-specific immune, heavy metal content in fish flesh, water quality and cost. Three treatments with three replication each were applied including control, 0.3 and 0.5 percent C-phycocyanin, respectively. Tilapia fingerlings (0.35g/fish, 50 fish/m3) were stocked in the cement tank, water was continuously aerated using air pump and reared for 90 days. It was found that the tilapia fingerlings fed with 0.5 percent C-phycocyanin showed significantly higher weight gain, average daily growth, feed conversion ratio, protein efficiency ratio and food conversion efficiency than that of other treatments. Survival rates were significantly different when compared with control. The tilapia larvae fed with C-phycocyanin 0.5 percent showed a highly significant difference in non-specific immune when compared with control group. Mercury was found in all three treatments. however, it was within the safety standards for consumers. The water quality within the pond was in range of the standard of aquaculture.
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินผลของการใช้ C-phycocyanin ในการอนุบาลลูกปลานิลในระบบไบโอฟลอค ต่อการเจริญเติบโต การสร้างภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และต้นทุนการผลิตลูกปลา แบ่งการทดลองเป็น 2 การทดลอง การทดลองแรกเป็นการทดลองระดับห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาปริมาณของ C-phycocyanin ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และกิจกรรมไลโซไซม์ ด้วยอาหารผสม C-phycocyanin ในระดับที่แตกต่างกัน โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 5 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป (ชุดควบคุม) และอาหารสำเร็จรูปผสม C-phycocyanin 0.1, 0.3, 0.5 และ 1 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ใช้ลูกปลานิลน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 0.41±0.01 กรัมต่อตัว อนุบาลในตู้กระจก ปริมาตรน้ำ 50 ลิตร อัตราการปล่อย 400 ตัวต่อตารางเมตร ให้ออกซิเจนตลอดเวลา อนุบาลระยะเวลา 90 วัน พบว่า ลูกปลาที่ได้รับอาหารผสม C-phycocyanin 0.5 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน และประสิทธิภาพการใช้โปรตีน มากกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับลูกปลาที่ได้รับอาหารผสม C-phycocyanin 0.3 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของอัตรารอดลูกปลาที่ได้รับอาหารผสม C-phycocyanin 0.5 เปอร์เซ็นต์ มีความแตกต่างกันทางสถิติเมื่อเทียบกับชุดควบคุม ต้นทุนในการผลิตลูกปลา พบว่าลูกปลาที่ได้รับอาหารผสม C-phycocyanin 1 เปอร์เซ็นต์ มีค่าสูงกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กิจกรรมไลโซไซม์มีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อปริมาณ C-phycocyanin เพิ่มขึ้น และคุณภาพน้ำทั้ง 5 ชุดการทดลองอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนการทดลองที่ 2 เป็นการทดลองระดับอุตสาหกรรมขนาดย่อม ศึกษาการเจริญเติบโต ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ปริมาณโลหะหนักในเนื้อปลา คุณภาพน้ำ และต้นทุนการผลิต โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 3 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป (ชุดควบคุม) และอาหารผสม C-phycocyanin 0.3 เปอร์เซ็นต์ และ 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยปล่อยลูกปลานิลน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 0.35±0.00 กรัมต่อตัว ในบ่อปูนซีเมนต์ บรรจุน้ำ 2 ลูกบาศก์เมตร อัตราการปล่อย 50 ตัวต่อตารางเมตร ให้ออกซิเจนตลอดเวลา อนุบาลระยะเวลา 90 วัน พบว่า ลูกปลานิลที่ได้รับอาหารผสม C-phycocyanin 0.5 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้การเจริญเติบโต (น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโต อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ประสิทธิภาพการใช้โปรตีน และประสิทธิภาพการใช้อาหาร) ดีที่สุด และมีแนวโน้มอัตรารอดดีที่สุดเมื่อเทียบกับลูกปลานิลที่ได้รับอาหารชุดควบคุมค่ากิจกรรมไลโซไซม์ การจับกินสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดขาว และกระบวนการผลิตซุปเปอร์ออกไซด์แอนไอออนเฉลี่ยของลูกปลานิลที่ได้รับอาหารผสม C-phycocyanin 0.5 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับลูกปลานิลที่ได้รับอาหารในชุดควบคุม พบปริมาณของปรอทในเนื้อปลาทุกชุดการทดลอง ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ปัจจัยคุณภาพน้ำทางกายภาพและเคมีทั้ง 3 ชุดการทดลองอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
Description: Master of Science (Master of Science (Fisheries Technology and Aquatic Resources))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1249
Appears in Collections:Fisheries Technology and Aquatic Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5910301005.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.