Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/121
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorWalisara Thipjarken
dc.contributorวลิศรา ทิพย์จักร์th
dc.contributor.advisorThammaporn Tantaren
dc.contributor.advisorธรรมพร ตันตราth
dc.contributor.otherMaejo University. School of Administrative Studiesen
dc.date.accessioned2020-01-17T04:08:37Z-
dc.date.available2020-01-17T04:08:37Z-
dc.date.issued2018-
dc.identifier.urihttp://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/121-
dc.descriptionMaster of Public Administration (Master of Public Administration (Public Policy and Public Management))en
dc.descriptionรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายและการบริหารสาธารณะ))th
dc.description.abstractThis study was conducted to investigate: 1) the establishment of the Complete – circle Garbage Disposal Center of Chiang Mai Administrative Organization: 2) the management of the Complete – circle Garbage Disposal Center of Chiang Mai Administrative Organization: and 3) a guideline for the management of the Complete – circle Garbage Disposal Center of Chiang Mai Administrative Organization. Key informants in this study included executive representatives, council representatives, local government official representatives of Chiang Mai Administrative Organization, representatives of the Complete – circle Garbage Disposal Center, representatives of the community, and representatives of the public. A semi-structured interview schedule was used for data collection.     Results of the study revealed that the establishment of the Complete – circle Garbage Disposal Center arised from an increased amount of garbage in Chiang Mai due to an increase in population. The management of garbage disposal was the role of local administrative organizations to make this policy into practice. This could be done through participation in planning for the establishment of the Complete – circle Garbage Disposal Center by local administrative organizations, educational institutes, and Ministry Science, Technology, and Environment. Besides, there was a public resolution and selection of an area for the construction of the Complete – circle Garbage Disposal Center. Regarding the management of the Complete – circle Garbage Disposal Center, it was found that Chiang Mai Administrative Organization had hired a private company to manage the Garbage Disposal Center (15 year contract). This included the management of personal, internal budgeting, equipment structures and place, and garbage disposal. Besides, it included conflicts of people groups, community organization groups, agencies, and local organizations who got a direct effect. However, it was found not to be so successful. Hence, it needs to have local participation in the management. According to a guideline for the management of the Complete - based Complete - circle Garbage Disposal, it was found that local people, community organization groups, local agencies/ organizations should participate in garbage disposal management such as sorting and collecting. Importantly, this would provide an opportunity for local people and those living nearby the garbage disposal center to take part in the management of garbage disposal.en
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการก่อเกิดศูนย์การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการศูนย์การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และ3) เพื่อศึกษาหาแนวทางการบริหารจัดการการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยผู้แทนคณะผู้บริหาร ผู้แทนฝ่ายสภา ผู้แทนข้าราชการส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนศูนย์การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร ผู้แทนท้องถิ่นท้องที่ และตัวแทนภาคประชาชนโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล    ผลการวิจัยเกี่ยวกับการก่อเกิดศูนย์การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรพบว่าเกิดจากปัญหาขยะมูลฝอยในจังหวัดเชียงใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรจนส่งผลกระทบในหลายด้านประกอบกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยเป็นบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องดำเนินการและผู้บริหารได้จัดทำเป็นนโยบายที่ต้องนำสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยผ่านการมีส่วนร่วมคิดร่วมพิจารณาร่วมวางแผนในการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันการศึกษาและกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีการทำประชามติและมีการคัดเลือกพื้นที่ก่อตั้งศูนย์การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร    ผลการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการศูนย์การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรพบว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ได้ว่าจ้างให้บริษัทเอกชนเข้ามาบริหารจัดการและการจัดบริการภายในศูนย์ทั้งหมดโดยมีการทำสัญญาและข้อตกลงเป็นระยะเวลา 15 ปี การบริหารจัดการด้านบุคลากร งบประมาณภายใน ด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลเทคโนโลยี อาคารสถานที่และการจัดบริการเกี่ยวกับการกำจัดขยะจึงเป็นหน้าที่ของบริษัทผู้รับเหมาทั้งหมด รวมถึงการจัดการความขัดแย้งของประชาชนกลุ่ม หน่วยงาน องค์กรในพื้นที่ การจัดการผลประโยชน์ต่างตอบแทนและการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มองค์กรชุมชน หน่วยงาน และองค์กรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารจากบริษัทเอกชนซึ่งที่ผ่านมาถือว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนโดยให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกวงจรของการบริหารจัดการ    ผลการวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการศูนย์การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรโดยใช้ชุมชนเป็นฐานตามแนวทางการศึกษาพบว่าต้องให้ประชาชน กลุ่มองค์กรชุมชน หน่วยงาน องค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเกี่ยวกับขยะมูลฝอยจากต้นทางในวงจรของการคัดแยกขยะและรวบรวมขยะมูลฝอย การมีส่วนร่วมของประชาชนระหว่างทางในพื้นที่ที่มีการส่งขยะมูลฝอยเข้าสู่ศูนย์เพื่อกำจัดประการสำคัญคือการเปิดโอกาสให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่และรอบศูนย์การจัดการขยะมูลฝอยที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการดำเนินงานและการปฏิบัติงานตามความเหมาะสมในลักษณะของการสร้างเครือข่าย การประสานงานความร่วมมือในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมth
dc.language.isoth-
dc.publisherMaejo University-
dc.rightsMaejo University-
dc.subjectการบริหารจัดการth
dc.subjectศูนย์การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรth
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่th
dc.subjectmanagementen
dc.subjectThe Complete – circle Garbage Disposal Centeren
dc.subjectChiang Mai Administrative Organizationen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleMANAGEMENT OF COMMUNITY-BASED COMPLETE – CIRCLE GARBAGE DISPOSAL CENTER: A CASE STUDY OF THE COMPLETE – CIRCLE GARBAGE DISPOSAL CENTER OF  CHIANG MAI ADMINISTRATIVE ORGANIZATION en
dc.titleการบริหารจัดการศูนย์การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษา: ศูนย์การจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ th
dc.typeIndependent Studyen
dc.typeการค้นคว้าอิสระth
Appears in Collections:School of Administrative Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6005404005.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.