Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1208
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorThongphanh Lartdavong-
dc.date.accessioned2022-07-07T06:35:44Z-
dc.date.available2022-07-07T06:35:44Z-
dc.date.issued2021-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1208-
dc.description.abstractการเลี้ยงสุกรถือว่ามีความสำคัญในประเทศไทยซึ่งพบว่ามีการเลี้ยงอยู่ทั่วประเทศ น้ำเสียจากฟาร์มสุกรถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติเกิดความเสื่อมโทรมได้ ถ้าไม่ได้รับการบำบัดที่ถูกต้อง วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของพืชลอยน้ำในการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกร และผลของระดับความเข้มข้นของน้ำเสียจากฟาร์มสุกรต่อน้ำหนัก และโภชนะของพืชลอยน้ำ การศึกษาใช้พืชลอยน้ำจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ จอก (Pistia stratiotes (L.)) แหนเป็ดใหญ่ (Spirodela polyrrhiza (L.) Schleid และ ไข่น้ำ (Wolffia arrhiza (L.) Wimm) โดยทำการแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1: ศึกษาการเจริญของพืชลอยน้ำในความเข้มข้นของน้ำเสียฟาร์มสุกรที่เหมาะสม โดยทำการเพาะเลี้ยงในน้ำเสียจากฟาร์มสุกรที่ระดับความเข้มข้น 5 10 20 30 และ 40% ผลการทดลองพบว่า พืชทั้ง 3 ชนิด เจริญเติบโตได้ดีในระดับความเข้มข้นของน้ำเสียไม่เกิน 20% ตอนที่ 2: ศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกร และผลของระดับความเข้มข้นของน้ำเสียจากฟาร์มสุกรต่อน้ำหนัก และโภชนะของพืชลอยน้ำ โดยพืชถูกเลี้ยงจำนวน 3 ซ้ำในน้ำเสียจากฟาร์มสุกรที่ระดับความเจือจาง 0 5 10 และ 15% ขนาดภาชนะทดลองบรรจุน้ำ 14 ลิตร น้ำหนักสดพืชเริ่มต้น 5 กรัม หลังจากการทดลอง 14 วัน พบว่า พืชลอยน้ำทั้ง 3 ชนิด มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำทิ้งฟาร์มสุกรได้สูงที่สุด สำหรับการบำบัดค่า COD BOD และ SS ของจอกมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.92, 94.70 และ 85.64 แหนเป็ดใหญ่มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 86.37, 92.24 และ 89.99 และประสิทธิภาพการบำบัดของไข่น้ำมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 72.88, 85.20 และ 76.36 ตามลำดับ ในส่วนโภชนะของพืช หลังจากสิ้นสุดการทดลองพบว่า ที่ระดับความเข้มข้นของน้ำเสีย 5% พืชทั้ง 3 ชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยให้น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยเฉพาะไข่น้ำสามารถเจริญได้มากที่สุดโดยมีค่าน้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งเพิ่มขึ้นร้อยละ 742 และ 1,169.23 ตามลำดับ และพบว่าพืชทั้ง 3 ชนิดเมื่อเลี้ยงในน้ำทิ้งฟาร์มสุกรจะให้คุณค่าทางโภชนะมากกว่าที่ไม่ได้เลี้ยงในน้ำทิ้งฟาร์มสุกร โดยพบว่า ไข่น้ำมีค่าโภชนะสูงเมื่อเปรียบเทียบกับจอก และแหนเป็ดใหญ่ โดยเฉพาะที่เลี้ยงในความเข้มข้นของน้ำเสีย 5% มีปริมาณ CP 38.76±0.11%. ดังนั้นสรุปได้ว่าเกษตรกรผู้ที่เลี้ยงสุกรสามารถนำไข่น้ำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรในระดับความเข้มข้นของน้ำเสียที่ 5% เนื่องจากความเข้มข้นนี้ทำให้ไข่น้ำเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพการบำบัดน้ำทิ้ง และยังให้ค่าโภชนะที่สูง โดยเฉพาะโปรตีน ซึ่งเหมาะสำหรับนำไปประยุกต์ในการทำเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ได้อีกด้วยen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleการบําบัดน้ำเสียฟาร์มสุกรโดยใช้พืชลอยน้ำเพื่อเป็นอาหารเสริมเลี้ยงสัตว์en_US
dc.title.alternativeWastewater treatment from swine farm by using floating plants as supplementary for animal feeden_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thongphanh_Lartdavong.pdf7.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.