Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1206
Title: การเพิ่มมูลค่าขี้เลื่อยไม้สักจากโรงเลื่อยในเมืองเชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง เป็นแผ่นปาร์ติเกิลเพื่อการผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์
Other Titles: The added value of teak sawdust from sawmill in xiengnguern district luangprabang province to particleboard for furniture production
Authors: Chanpor Yiachongthor
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผ่นปาร์ติเกิลจากขี้เลื่อยไม้สัก ในเมืองเชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยการใช้อีพอกซีต่อขี้เลื่อยไม้สักในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน โดยทำการทดสอบสมบัติทางกายภาพ เชิงกล และสภาพการนำความร้อน ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 966-2547 และจัดทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจจากเจ้าของโรงเลื่อยไม้สัก และประชาชนในเมืองเชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การทดลองเริ่มจากการนำขี้เลื่อยไม้สักร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 10 ให้ได้ขี้เลื่อยไม้สัก 2 ขนาดคือ ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ส่วนขี้เลื่อยขนาดผสมนั้นจะไม่ผ่านการร่อน จากนั้นนำขี้เลื่อยไม้สักทั้ง 3 ขนาดไปผสมกับอีพอกซี ในอัตราส่วนอีพอกซีต่อขี้เลื่อยไม้สักที่อัตราส่วน ดังนี้ 50:50, 60:40, 70:30 และ 80:20 ด้วยวิธีการหล่อเย็น ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน จึงเอาออกจากแม่พิมพ์ นำแผ่นปาร์ติเกิลทำจากขี้เลื่อยไม้สักไปทำการทดสอบสมบัติทางกายภาพ เชิงกล สภาพการนำความร้อน จากนั้นจึงทำการประเมินสอบถามความพึงพอใจของเจ้าของโรงเลื่อยไม้สัก และประชาชนในเมืองเชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผลการวิจัย พบว่า อัตราส่วนอีพอกซีต่อขี้เลื่อยไม้สักทั้ง 4 อัตราส่วนของแผ่นปาร์ติเกิลที่ทำจากขี้เลื่อยไม้สักนั้น มีค่าความหนาแน่นเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.4-3.8 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่าปริมาณความชื้นเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-7.8 ค่าการพองตัวตามความหนาเฉลี่ยร้อยละ 0.5-4.4 ค่าความต้านทานแรงดัดเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.51-1.96 เมกะพาสคัล ค่ามอดูลัสยืดหยุ่นเฉลี่ยอยู่ในช่วง 124-200 เมกะพาสคัล และค่าสภาพการนำความร้อนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.0784–0.1278 วัตต์ต่อเมตร-เคลวิน ในส่วนของผลการประเมินความพึงพอใจเจ้าของโรงเลื่อยไม้สัก และประชาชนในเมืองเชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต่อแผ่นปาร์ติเกิลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 และ 4.23 ตามลำดับ ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมาก ปริมาณขี้เลื่อยไม้สักลดลง ส่งผลให้ค่าความหนาแน่น ค่าความต้านทานแรงดัด ค่ามอดูลัสยืดหยุ่น และค่าสภาพการนำความร้อนมีค่าเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันปริมาณความชื้น และค่าการพองตัวตามความหนาลดลง แต่อย่างไรก็ตามคุณสมบัติทางกายภาพของแผ่นปาร์ติเกิลนั้นมีค่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 966-2547 แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง แต่ในส่วนของค่าสมบัติเชิงกลนั้นยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการทำแผ่นปาร์ติเกิลจากขี้เลื่อยไม้สัก อัตราส่วนอีพอกซีต่อขี้เลื่อยไม้สักที่ 50:50 นั้นมีความเหมาะสมที่สุดที่จะสามารถนำไปพัฒนาเป็นแผ่นปาร์ติเกิลเพื่อผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ใช้ทดแทนไม้สักได้ในอนาคต
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1206
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanpor_Yiachongthor.pdf7.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.