Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1201
Title: | การพัฒนาเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบมัลติเพล็กซ์และการสำรวจ โรคพยาธิในเม็ดเลือดสุนัขในจังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Development of multiplex polymerase chain reaction and molecular survey of canine tick-borne diseases in Chiangmai |
Authors: | เพ็ญนภา ตาคำ |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | โรคพยาธิในเม็ดเลือดของสุนัขเกิดขึ้นโดยอาศัยพาหะนำโรค คือเห็บแข็งสีน้ำตาล (Rhipicephalus sanguineus) และเหลือบ (Tabanus spp.) โดยมีเชื้อก่อโรค ได้แก่ Babesia ca- nis (B. canis), Hepatozoon canis (H. canis), Ehrlichia canis (E. canis), Anaplasma pla- tys (A.platys) และTrypanosoma evansi (T. evansi) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบมัลติเพล็กซ์ที่มีความจำเพาะกับยีน 18s rRNA ของเชื้อ H. canis และ B. canis ยีน VirB9 ของเชื้อ E. canis ยีน GroEL ของเชื้อ A. platys และ ยีน VSG ของเชื้อ T. evansi ในสุนัข จากนั้นนำเทคนิคดังกล่าวมาใช้สำรวจความชุกของโรคพยาธิในเม็ดเลือดสุนัขในจังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยนี้เก็บตัวอย่างเลือดสุนัขจำนวน 870 ตัว นำมาตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรคพยาธิในเม็ดเลือดสุนัข ผลการศึกษา พบว่า อุณหภูมิ annealing ที่เหมาะสมสำหรับปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบมัลติเพล็กซ์ คือ 58 °ซ ความเข้มข้นของไพรเมอร์ต่ำสุดที่สามารถตรวจพบยีน VirB9 ของเชื้อ E. canis คือ 100 nM ยีน GroEL ของเชื้อ A. platys และ ยีน 18s rRNA ของเชื้อ H. canis และ B. canis คือ 50 nM และยีน VSG ของเชื้อ T. evansi คือ 500 nM ความเข้มข้นของดีเอ็นเอต้นแบบต่ำสุดที่สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อ E. canis และ B. canis คือ 101 copy numbers เชื้อ H. canis คือ 104 copy numbers และเชื้อ A. platys คือ 103 copy numbers ความชุกของการตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรคพยาธิในเม็ดเลือดสุนัขในจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นการติดเชื้อเพียงชนิดเดียวคือ H. canis ร้อยละ 38.0 (331 ตัว) E. canis ร้อยละ 0.7 (6 ตัว) A. platys ร้อยละ 0.6 (5 ตัว) B. canis ร้อยละ 0.2 (2 ตัว) และไม่พบการติดเชื้อ T. evansi ความชุกของการตรวจพบสารพันธุกรรมในสุนัขที่ติดเชื้อร่วมกันสองชนิดคือ B. canis และ H. canis ร้อยละ 22.0 (191 ตัว) H. canis และ E. canis ร้อยละ 1.8 (16 ตัว) H. canis และ A. platys ร้อยละ 1.4 (12 ตัว) และไม่พบการติดเชื้อ B. canis และ E. canis, B. canis และ A. platys, E. canis และ A. platys ความชุกของการตรวจพบสารพันธุกรรมในสุนัขที่ติดเชื้อร่วมกันสามชนิดคือ B. canis, H. canis และ A. platys ร้อยละ 0.9 (8 ตัว) B. canis, H. canis และ E. canis ร้อยละ 0.9 (8 ตัว) H. canis, E. canis และ A. platys ร้อยละ 0.2 (2 ตัว) และไม่พบการติดเชื้อ B. canis, E. canis และ A. platys ความชุกของการตรวจพบสารพันธุกรรมในสุนัขที่ติดเชื้อร่วมกันสี่ชนิดคือ E. canis, H. canis, B. canis และ A. platys ร้อยละ 0.5 (4 ตัว) สุนัขสุขภาพดีไม่พบการติดเชื้อพยาธิในเม็ดเลือดคิดเป็นร้อยละ 32.8 (285 ตัว) ผลการศึกษา พบว่า เพศ และอายุไม่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อพยาธิในเม็ดเลือดสุนัข แต่การมีสถานพยาบาลสัตว์ในระยะ 10 กม. มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อพยาธิในเม็ดเลือดสุนัขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1201 |
Appears in Collections: | Engineering and Agro - Industry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pennapa_Takam.pdf | 2.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.