Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1200
Title: | ผลของการใช้สารสกัดสมุนไพรร่วมกับนาโน-เคอร์ซิตินผสมในอาหารต่อ การเจริญเติบโตและเสริมภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ Streptococcus agalactiae ในปลานิล (Oreochromis niloticus) |
Other Titles: | Efficacy of dietary herbal extract and nano-quercetin on growth, innate immune responses, antioxidant and resistance of nile tilapia (oreochromis niloticus) against streptococcus agalactiae infection |
Authors: | พงศกร น้อยมูล |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรและนาโน-เคอร์ซิตินต่อการเจริญเติบโตและการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ Streptococcus agalactiae ในปลานิล โดยแบ่งการทดสอบเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกทดสอบผลของสารสกัดจากสมุนไพรไทย โอทู-ฟลาโวมอล (บริษัท เวิลด์ โกรว์ จำกัด) ต่อการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ S. agalactiae โดยใช้ปลานิลขนาด 40±10 กรัม จำนวน 20 ตัว ปล่อยในกระชังขนาด 1 ตารางเมตร ทดลองให้อาหาร 5 สูตร คือ อาหารควบคุม อาหารผสมสารสกัด 0.1, 0.2, 0.3 และ 0.4 มิลลิลิตรต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้อาหาร 4-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว วันละ 2 มื้อ ทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่า ปลานิลในกลุ่มที่ได้รับอาหารผสมสารสกัด 0.1, 0.2, 0.3 และ 0.4 มิลลิลิตรต่ออาหาร 1 กิโลกรัมมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัด 0.1 มิลลิลิตรต่ออาหาร 1 กิโลกรัมนั้นมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในส่วนของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อวัน อัตราการแลกเปลี่ยนเนื้อ อาหารที่ปลากิน และอัตรารอด ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) หลังการทดสอบฉีดเชื้อ S. agalactiae 1 x 108 CFU ต่อมิลลิลิตรต่อตัว 10 วัน พบว่า กลุ่มควบคุมมีอัตราการตายสูงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มที่ได้รับสารสกัด 0.1 มิลลิลิตรและแนวโน้มการตายลดลงตามระดับที่เพิ่มขึ้นของสารสกัด ในขั้นตอนที่ 2 ทดสอบใช้ผลิตภัณฑ์นาโน-เคอร์ซิตินร่วมกับสารสกัดจากสมุนไพรไทย โอทู-ฟลาโวมอล ผสมอาหารเพื่อเสริมการเจริญเติบโตและเสริมภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ S. agalactiae โดยปล่อยปลานิลขนาดเริ่มต้น 40±10 กรัม จำนวน 20 ตัว ลงในกระชังขนาด 1 ตารางเมตร ทดลองให้อาหาร 4 สูตรคือ อาหารควบคุม อาหารผสมสารสกัด 0.1 มิลลิลิตรร่วมกับนาโน-เคอร์ซิติน 25, 50 และ 75 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้อาหาร 4-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว วันละ 2 มื้อ ทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่า อัตราการเจริญเติบโตของปลานิลทั้ง 4 กลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่น้ำหนักของกลุ่มที่ได้รับสารสกัด 0.1 มิลลิลิตรผสมนาโน-เคอร์ซิตินที่ 25 และ 75 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัมนั้นมีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่ดีกว่ากลุ่มอื่น ในส่วนของอัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ กลุ่มสารสกัด 0.1 มิลลิลิตรผสมนาโน-เคอร์ซิตินที่ 25, 50 และ 75 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัมมีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ในส่วนของอาหารที่ปลากิน กลุ่มทดลองที่ได้รับสารสกัด 0.1 มิลลิลิตรผสมนาโน-เคอร์ซิตินที่ 50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัมมีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อัตรารอดตายไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) กิจกรรมไลโซไซม์มีความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างกลุ่มที่ได้รับสารสกัดร่วมกับนาโน-เคอร์ซิตินกับกลุ่มควบคุม (P<0.05) เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 6 และ 8 กิจกรรมกระบวนการผลิตซุปเปอร์ออกไซด์แอนไอออนและกิจกรรมการจับกินสิ่งแปลกปลอมพบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ค่ากลูตาไธโอนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างก่อนทดลองและหลังการทดลอง และค่ามาลอนไดอัลดีไฮด์พบว่าก่อนการทดลองและหลังการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่เมื่อแนวโน้มของค่ามาลอนไดอัลดีไฮด์ลดลงตามระดับที่ได้รับสารสกัดร่วมกับนาโน-เคอร์ซิติน และการทดสอบฉีดเชื้อ S. agalactiae 1 x 108 CFU ต่อมิลลิลิตรต่อตัว พบว่าใน 10 วันกลุ่มควบคุมได้มีอัตราการตายสูงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มที่ได้รับสารสกัดร่วมกับนาโน-เคอร์ซิติน 25 จากการศึกษาพบว่าควรใช้สารสกัด 0.1 มิลลิลิตรและนาโน-เคอร์ซิตินที่ 25 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม จะสามารถช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต ลดปริมาณการใช้อาหาร กระตุ้นการทำงานของกิจกรรมไลโซไซม์ เพิ่มปริมาณสารกลูตาไธโอนและลดปริมาณของสารมาลอนไดอัลดีไฮด์ |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1200 |
Appears in Collections: | Engineering and Agro - Industry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pongsakorn_Noimoon.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.