Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1196
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกันตพงศ์ เครือมา-
dc.date.accessioned2022-07-07T06:21:02Z-
dc.date.available2022-07-07T06:21:02Z-
dc.date.issued2021-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1196-
dc.description.abstractการศึกษาการเจริญเติบโต ผลผลิต และ ความหลากหลายของชนิดไม้ต้นที่มีการเจริญทดแทนในสวนป่าไม้สัก ที่มีการจัดการด้านวนวัฒนวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตและผลผลิตของไม้สัก และความหลากหลายของชนิดไม้ต้นของสวนป่าไม้สักแต่ละช่วงอายุ โดยการวางแปลงขนาด 20×20 เมตร ทำการเก็บข้อมูลความโตและความสูง อายุ 1-19 ปี ทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการเจริญเติบโตและผลผลิต โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น และวางแปลงขนาด 20×50 เมตร เพื่อทำการเก็บข้อมูลความหลากหลายของชนิดไม้ต้น โดยใช้แปลงอายุที่ 5, 10, 15, 20, 25, 30, 35 และ 40 ปี พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาดัชนีค่าความสำคัญ ดัชนีความหลากชนิด และดัชนีความคล้ายคลึงในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า ไม้สักในชั้นอายุ 1-19 ปี มีการเจริญเติบโตทางเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับเพียงอกสูงสุด 22.96 เซนติเมตร ความสูง 18.24 เมตร และปริมาตรไม้รายต้น 0.162 ลูกบาศก์เมตร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุของสวนป่าสัก เมื่อทำการทดสอบทางสถิติแล้ว พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างอายุของไม้สักกับการเจริญเติบโตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการศึกษาความหลากหลายของชนิดไม้ต้นของสวนป่าไม้สัก พบชนิดไม้ต้นทั้งหมด จำนวน 103 ชนิด 76 สกุล 29 วงศ์ วงศ์ที่พบจำนวนชนิดมากที่สุด คือ วงศ์ถั่ว (Fabaceae) ไม้สักเป็นไม้ท้องถิ่นดัชนีค่าความสำคัญมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ประดู่ป่า แดง และตะคร้อ พบชนิดไม้เบิกนำ ได้แก่ กางขี้มอด พฤกษ์ และปอกระสา ดัชนีความหลากชนิดพบว่ามีความหลากหลายทางชนิดสูง มีค่าอยู่ระหว่าง 1.12-3.13 ในไม้ใหญ่ ไม้หนุ่ม และกล้าไม้ และดัชนีความคล้ายคลึงมีค่าอยู่ระหว่าง 14.89-48.94 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการศึกษาในพื้นที่ปลูกสักที่มีการปฏิบัติทางวนวัฒวิทยา สามารถส่งเสริมการเติบโตและผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและความหลากหลายสามารถเติบโตกลับมาได้ตามธรรมชาติen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleการเจริญเติบโต ผลผลิต และความหลากหลายของชนิดไม้ต้น ของสวนป่าไม้สัก ภายใต้อายุที่แตกต่างกันบริเวณสวนป่าขุนแม่คำมี จังหวัดแพร่en_US
dc.title.alternativeGrowth, yield and species diversity of teak (Tectona grandis Linn. f.) plantation under different agein Khun Mae Khum Mee plantation, Phrae provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kunthaphong_Kruama.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.