Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1195
Title: | ขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เงา จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
Other Titles: | Tourism carrying capacity assessmentfor Maengao national park area, Mae Hong Son province |
Authors: | ชวลิต อภิหิรัญตระกูล |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินขีดความสามารถและกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการรองรับได้ของนักท่องเที่ยวต่อพื้นที่ ในการจัดกิจกรรมนันทนาการภายในอุทยานแห่งชาติแม่เงา เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการผลกระทบที่เหมาะสมต่อการรองรับนักท่องเที่ยวให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ โดยทำการศึกษาในขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านกายภาพ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านนิเวศวิทยา และด้านสังคมจิตวิทยา จากการศึกษาในพื้นที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเมื่อเปรียบเทียบจำนวนนักท่องเที่ยว พบว่า ขีดความสามารถในการรองรับได้ ด้านกายภาพ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 94,365 คน/ปี ขีดความสามารถในการรองรับได้ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 316,629 คน/ปี และจากสถิติจำนวนนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 - 2563 พบว่าในปี พ.ศ. 2559 มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากที่สุดคือ 17,309 คน คิดเป็นร้อยละ 18.34 ของขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านกายภาพ และร้อยละ 5.37 ของขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งมีผลกระทบน้อยหรือจำนวนนักท่องเที่ยวยังต่ำกว่าขีดความสามารถในการรองรับได้ ทั้ง 2 ด้านนี้ สำหรับขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านชีวภาพหรือนิเวศวิทยา การปกคลุมของรากไม้โผล่มีค่าร้อยละ 34.62 ซึ่งมีระดับความรุนแรงของรากไม้โผล่อยู่ในระดับปานกลาง และการปกคลุมพันธุ์พืชได้ทำการศึกษากรณีไม้หนุ่ม (Sapling) พบว่า มีชนิดพันธุ์พืช จำนวน 6 ชนิด ที่มีผลกระทบอยู่ในระดับรุนแรง ส่วนกรณีกล้าไม้ (Seedling) พบว่า มีถึง 11 ชนิด มีผลกระทบอยู่ในระดับรุนแรง ประเด็นสุดท้ายขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านสังคมจิตวิทยา พบว่า ความรู้สึกพึงพอใจของนักท่องเที่ยวตั้งแต่ระดับปานกลางหรือเริ่มรู้สึกแออัดไปจนถึงพึงพอใจน้อยมากหรือรู้สึกแออัดมากที่สุดรวมร้อยละ 14.70 ซึ่งมีผลกระทบอยู่ระดับน้อยหรือจำนวนนักท่องเที่ยวไม่เกินขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านสังคมจิตวิทยา จากการศึกษามีเพียงขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านชีวภาพหรือนิเวศวิทยาที่มีผลกระทบต่อพันธุ์ไม้บางชนิดอยู่ในระดับมาก บางชนิดอยู่ในระดับรุนแรง ส่วนมากจะเป็นไม้เบิกนำ (Pioneer species) ที่ชอบแสงและจะขึ้นได้ดีในที่โล่งแจ้ง จึงจะต้องมีการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยว โดยลดจำนวนนักท่องเที่ยวหรือลดจำนวนรอบในการเดินเส้นทางท่องเที่ยวเดินป่าม่อนกองข้าว - ปุยหลวง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของระบบนิเวศในพื้นที่ จากผลการศึกษาวิจัยนี้สามารถนำมาใช้ในการจัดการด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติแม่เงา จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดและยั่งยืนตลอดไป |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1195 |
Appears in Collections: | Engineering and Agro - Industry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chawalit_Aphihirantrakun.pdf | 4.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.