Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1193
Title: ลักษณะสังคมพืชและปัจจัยดินของป่าเต็งรังแคระป้องกันไฟ ในพื้นที่วนอุทยานแพะเมืองผี จังหวัดแพร่
Other Titles: Vegetation community characteristics and edaphic factors of dwarf deciduous dipterocarp forest prevented forest fire in Phae Muang Phi forest park, Phrae province
Authors: ปรัชญาภรณ์ ศรีคุณ
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: ป่าเต็งรังเป็นสังคมสุดยอดโดยไฟถ้าหากมีการป้องกันไฟเป็นเวลานานอาจทำให้ลักษณะสังคมพืชและปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากสังคมดั้งเดิม ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของชนิดไม้ต้นภายใต้การแปรผันของปัจจัยดิน ในป่าเต็งรังแคระป้องกันไฟในพื้นที่วนอุทยานแพะเมืองผี จังหวัดแพร่ โดยการสุ่มวางแปลงตัวอย่างแบบเจาะจง ขนาด 20 เมตร x 20 เมตร จำนวน 15 แปลง พร้อมกับเก็บข้อมูลองค์ประกอบชนิดพรรณพืชในระดับไม้ต้น ลูกไม้ และกล้าไม้ พร้อมกับปัจจัยดิน เพื่อใช้วิเคราะห์ลักษณะของสังคมพืช และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยดินที่มีผลต่อการปรากฎของพรรณพืช ผลการศึกษา พบว่า มีชนิดไม้ต้นทั้งหมด 60 ชนิด 54 สกุล 28 วงศ์ จากไม้ทั้งหมด 1,457 ต้น สามารถแบ่งสังคมพืชในพื้นที่ศึกษาออกได้เป็น 3 สังคมย่อย ได้แก่ สังคมเต็ง สังคมรัง และสังคมขันทองพยาบาท โดยสังคมเต็ง พบพรรณไม้ทั้งหมด 34 ชนิด 32 สกุล 19 วงศ์ มีค่าดัชนีความหลากหลาย เท่ากับ 1.70 ชนิดไม้ที่มีความสำคัญ เช่น เต็ง (Shorea obtusa) เหียง (Dipterocarpus obtusifolius) รัง (Shorea siamensis) ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus) และ กระบก (Irvingia malayana) เป็นต้น สังคมรัง พบพรรณไม้ทั้งหมด 34 ชนิด 31 สกุล 18 วงศ์ มีค่าดัชนีความหลากหลาย เท่ากับ 2.59 พบชนิดไม้ที่มีความสำคัญ เช่น รัง ประดู่ สะเดาปัก (Vatica harmandiana) เต็ง และ เสี้ยวเครือ (Phanera bracteata) เป็นต้น และสังคมขันทองพยาบาท พบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 49 ชนิด 43 สกุล 24 วงศ์ มีค่าดัชนีความหลากหลาย เท่ากับ 3.13 พบชนิดไม้ที่มีความสำคัญ เช่น ขันทองพยาบาท (Suregada multiflorum) ติ้วเกลี้ยง (Cratoxylum cochinchinenea) เสี้ยวเครือ ประดู่ และกัดลิ้น (Walsura pinnata) เป็นต้น และพบว่าชนิดไม้เด่นในสังคมเต็งถูกกำหนดด้วยปริมาณฟอสฟอรัส ชนิดไม้เด่นในสังคมรังถูกกำหนดด้วยอนุภาคดินเหนียว อิทรียวัตถุ และปริมาณธาตุอาหารหลายชนิด ได้แก่ โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม ไนโตรเจน ชนิดไม้เด่นในสังคมขันทองพยาบาทถูกกำหนดด้วยอนุภาคดินทราย ส่วนปัจจัยดินที่มีอิทธิพลต่อการตั้งตัวของลูกไม้/กล้าไม้ พบว่าปริมาณธาตุอาหารมีอิทธิพลมากกว่าอนุภาคดิน โดยลูกไม้/กล้าไม้ที่ตั้งตัวได้ดีในสังคมเต็ง คือ เหมือดแอ (Memecylon scutellatum) ถูกกำหนดทั้งปริมาณธาตุอาหารหลายชนิดและอนุภาคดิน ส่วนชิงชัน (Dalbergia oliveri) และ กระบก มีความเป็นอิสระต่อปริมาณธาตุอาหารถือว่ายังสืบต่อพันธุ์ได้เป็นปกติ ส่วนชนิดที่มีลูกไม้/กล้าไม้เด่นในสังคมรัง เช่น สะเดาปัก เป็นชนิดไม้ที่ไม่ผลัดใบถูกกำหนดด้วยปริมาณอินทรีย์วัตถุ ในขณะที่ชนิดที่มีลูกไม้/กล้าไม้เด่นในสังคมขันทองพยาบาท ได้แก่ เข็มใหญ่ (Ixora sp.) ปอแก่นเทา (Grewia eriocarpa) ขันทองพยาบาท ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่ไม้ดัชนีในป่าเต็งรังถูกกำหนดด้วยปริมาณธาตุอาหารเป็นส่วนใหญ่ จากผลการศึกษาในข้างต้นชี้ให้เห็นว่าการป้องกันไฟในพื้นที่ป่าเต็งรังแคระเป็นเวลานานทำให้องค์ประกอบชนิดและการสืบต่อพันธุ์ในระดับลูกไม้/กล้าไม้เปลี่ยนไปจากเดิม โดยชนิดไม้ที่ไม่ผลัดใบเข้ามาตั้งตัวแทนที่ชนิดไม้ผลัดใบที่เป็นพรรณไม้ดัชนีในป่าเต็งรังแคระ ดังนั้นการป้องกันไฟป่าในพื้นที่ป่าเต็งรังควรมีการพิจารณาองค์ประกอบของชนิดไม้ในสังคมเป็นสำคัญ
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1193
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prudchayaporn_Srikoon.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.