Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1192
Title: | อัตราส่วนความถี่ของปัจจัยเสี่ยง เพื่อประเมินพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม ในพื้นที่จังหวัดแพร่ |
Other Titles: | Frequency ratio of risk factors to assess landslide susceptibility in Phrae province |
Authors: | จิราพร ปักเขตานัง |
Keywords: | แผ่นดินถล่ม -- ไทย -- แพร่ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ -- ไทย -- แพร่ แผ่นดินถล่ม -- การป้องกันและควบคุม |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดดินถล่ม จัดทำแผนที่แสดงความอ่อนไหว และระบุพื้นที่ต่อการเกิดดินถล่ม ในพื้นที่จังหวัดแพร่ จากการศึกษาการเกิดดินถล่มด้วยวิธีอัตราส่วนความถี่ ระหว่างจุดที่เคยเกิดดินถล่มจำนวน 15 จุด กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดินถล่ม ได้แก่ ความลาดชัน ระยะทางจากถนน ระยะทางจากทางน้ำ ความโค้ง และทิศด้านลาด พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดดินถล่มมากที่สุด คือ ระยะห่างจากเส้นถนนและระยะห่างจากเส้นทางน้ำ โดยแบ่งระดับความอ่อนไหวออกเป็น 5 ระดับ พบว่า พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มสูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก คิดเป็นร้อยละ 15.91, 27.68, 29.72, 22.40 และ 4.29 ของพื้นที่ ตามลำดับ ซึ่งจุดพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มสูง ได้แก่ อำเภอลองและอำเภอร้องกวาง พบทั้งสิ้น 6 จุด จุดพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มปานกลาง คือ อำเภอวังชิ้นและอำเภอเด่นชัย พบทั้งสิ้น 5 จุด และจุดพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มน้อย คือ อำเภอเมืองแพร่ พบทั้งสิ้น 4 จุด ซึ่งสามารถนำมาใช้ในเทคนิคอัตราส่วนความถี่เพื่อพัฒนาแผนที่ความอ่อนไหวของดินถล่ม และลดความรุนแรงของดินถล่มในพื้นที่ ทำให้สามารถแสดงพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินถล่มได้ |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1192 |
Appears in Collections: | Engineering and Agro - Industry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jiraporn_Pakketanang.pdf | 3.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.