Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1190
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิรินทิพย์ ชัยมงคล-
dc.date.accessioned2022-07-07T06:11:53Z-
dc.date.available2022-07-07T06:11:53Z-
dc.date.issued2021-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1190-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแม่ไม้ของต้นยางนา ยางพลวง ยางเหียง เพื่อดูอัตราการงอก การเจริญเติบโตของกล้าไม้ ที่แข็งแรงมีประสิทธิภาพ วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1) การงอกของเมล็ดจากการเพาะเมล็ดพันธุ์จากป่าธรรมชาติ 2) การทดลองการใส่เชื้อเห็ดและการติดตามการเจริญเติบโตของกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ 3) การทดลองการปลูกกล้าไม้ต้นยางพลวงในแปลงปลูก พื้นที่ศึกษาในป่าธรรมชาติอยู่ใน จ.แพร่ ทำการสำรวจยางนา Dipterocarpus alatus (75 ต้น) ยางพลวง Dipterocarpus tuberculatus (56 ต้น) และยางเหียง Dipterocarpus obtusifolius (52 ต้น) การติดตามการออกดอกติดผล การเปลี่ยนแปลงของใบในช่วง 8 เม.ย. 2562 – 11 พ.ค. 2563 ในพื้นที่ 5 แห่ง ได้แก่ 1) พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอนุรักษ์ต้นน้ำลุ่มน้ำยมและสวนรุกขชาติเชตวัน (CW) 2) บ้านศรีดอนชัย ต.ทุ่งแล้ง อ.ลอง (TL) 3) พื้นที่ป่ามหาวิทยาแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ (MJU) 4) บริเวณสถานีสัญญาณช่อง 7 สี เดิมเขาครึ่ง (KK) 5) ป่าชุมชนบ้านใหม่จัดสรร ต.ร้องเข็ม อ.ร้องกวาง (BM) และศึกษาปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนร่วมด้วย ผลการศึกษาพบว่า การงอกของเมล็ดจากการเพาะเมล็ดพันธุ์จากป่าธรรมชาติ พบการงอกของเมล็ดยางนาในพื้นที่ CW และ TL มีค่าที่ต่างกันไม่มากสำหรับอัตราการงอกสะสม การงอกของเมล็ดยางเหียงในพื้นที่ MJU และ KK มีค่าอัตราการงอกสะสมที่ต่างกัน การงอกของเมล็ดยางพลวงในพื้นที่ BM และ MJU มีค่าเฉลี่ยวันที่งอกไม่ต่างกัน และอัตราการงอกสะสมที่ต่างกันไม่มาก ผลของการทดลองการใส่เชื้อเห็ดและการติดตามการเจริญเติบโต กล้าไม้ ยางนา ยางเหียง และยางพลวง ในเรือนเพาะชำ โดยการทดลองการใส่เชื้อเห็ดขนาด 10 ซีซี 20 ซีซี และไม่ใส่เชื้อเห็ด และทดสอบทางสถิติ one way – ANOVA พบว่า ความโตของต้นยางนา ต้นยางเหียง และต้นยางพลวงที่มีการใส่เชื้อเห็ดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งต้นที่ใส่เชื้อเห็ดมีความโตได้ดีกว่าต้นที่ไม่ใส่เชื้อเห็ด ผลการทดลองการปลูกกล้าไม้ยางพลวงในแปลงปลูก โดยต้นกล้าไม้ยางพลวงที่มีการใส่เชื้อเห็ดและไม่ใส่เชื้อเห็ดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยกล้าไม้ที่ใส่เชื้อเห็ดมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าต้นที่ไม่ใส่เชื้อเห็ดในแปลงปลูกที่มีสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อมลักษณะเดียวกันen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleการผลิตกล้าไม้ ยางนา ยางพลวง และยางเหียง เชิงคุณภาพen_US
dc.title.alternativeThe production of higt quality seedlings of dipterocarpus alatus roxb., dipterocarpus tuberculatus roxb. and dipterocarpus obtusifolius teijsm. ex miq.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirinthip_Chaimongkon.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.