Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1186
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิทักษ์ไทย ประโมสี-
dc.date.accessioned2022-07-07T06:06:35Z-
dc.date.available2022-07-07T06:06:35Z-
dc.date.issued2021-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1186-
dc.description.abstractการจัดการป่าเขาหินปูนเขตร้อนจำเป็นต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบชนิดและลักษณะเชิงหน้าที่ของหมู่ไม้ เพื่อทำให้เข้าใจถึงการทำงานของระบบนิเวศเขาหินปูนได้มากขึ้น ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบชนิด ลักษณะเชิงหน้าที่ และความหลากหลายของไม้ต้นที่สัมพันธ์กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมในป่าเขาหินปูนเขตร้อน ในพื้นที่วัดป่าภัทรปิยาราม จังหวัดลพบุรี ในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง กันยายน พ.ศ. 2563 โดยทำการวางแปลงตัวอย่างแบบแถบในพื้นที่เขาหินปูนสองลูกเขา ได้แก่ เขาหินปูนล้วนและเขาหินปูนผสมแกรนิต โดยการวางแปลงในแต่ละลูกเขากำหนดให้กว้าง 10 เมตร และความยาวขึ้นอยู่กับความสูงจากตีนเขาถึงยอดเขาให้ครอบคลุมทั้งสี่ทิศคือ เหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก และในแต่ละแถบทำการแบ่งเป็นแปลงย่อยขนาด 10 เมตร x 10 เมตร รวมทั้งสิ้น 135 แปลง แบ่งเป็นเขาหินปูนล้วน 65 แปลง และเขาหินปูนผสมแกรนิต 70 แปลง เพื่อเก็บข้อมูลองค์ประกอบชนิดของไม้ต้น ลักษณะเชิงหน้าที่ของพรรณพืช และปัจจัยสิ่งแวดล้อม แล้วทำการวิเคราะห์ลักษณะของสังคมพืช ความหลากหลายของลักษณะเชิงหน้าที่ และความสัมพันธ์กับปัจจัยสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่า เขาหินปูนในพื้นที่วัดป่าภัทรปิยารามปรากฏพันธุ์ไม้ 61 ชนิด 52 สกุล 24 วงศ์ จากทั้งหมด 996 ต้น โดยแบ่งเป็นเขาหินปูนล้วน 45 ชนิด 41 สกุล 20 วงศ์ โดยพื้นที่แห่งนี้มีดัชนีความหลากชนิด เท่ากับ 3.08 มีขนาดพื้นที่หน้าตัดและความหนาแน่นของไม้ใหญ่ เท่ากับ 7.77 ตร.ม./เฮกแตร์ และ 807 ต้น/เฮกแตร์ ตามลำดับ โดยมีชนิดไม้สำคัญ เช่น ปอทง (Sterculia guttata) เสี้ยวเครือ (Phanera bracteata) และมะกา (Bridelia ovata) ส่วนเขาหินปูนผสมแกรนิตปรากฏพันธุ์ไม้ 43 ชนิด 40 สกุล 19 วงศ์ โดยพื้นที่แห่งนี้มีดัชนีความหลากชนิด เท่ากับ 2.89 มีขนาดพื้นที่หน้าตัดและความหนาแน่นของไม้ใหญ่ เท่ากับ 7.65 ตร.ม./เฮกแตร์ และ 672 ต้น/เฮกแตร์ ตามลำดับ โดยมีชนิดไม้สำคัญ เช่น งิ้วผา (Bombax anceps) ส้มกบ (Hymenodictyon orixense) และกางขี้มอด (Albizia odoratissima) และยังพบว่าองค์ประกอบไม้ใหญ่และลูกไม้/กล้าไม้ของชนิดไม้สำคัญ ประกอบด้วยชนิดที่ถูกกำหนดด้วยปัจจัยหินโผล่ เช่น ปอทง ขี้อ้าย (Terminalia nigrovenulosa) และมะกัก (Spondias bipinnata) ชนิดที่ถูกกำหนดด้วยปริมาณแสง เช่น ปอฝ้าย (Firmiana colorata) ผกากอง (Lantana camara) และประดู่ (Pterocarpus macrocarpus) และชนิดที่ถูกกำหนดด้วยความลึกดิน เช่น มะกอก (Spondias pinnata) ส้มกบ (Hymenodictyon orixense) และงิ้วผา (Bombax anceps) ชนิดไม้ในพื้นที่ศึกษาสามารถแบ่งตามลักษณะเชิงหน้าที่ได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ชนิดที่มีค่าสัดส่วนน้ำหนักแห้งต่อน้ำหนักสดของใบ และความหนาแน่นของเนื้อไม้มาก เช่น สะท้อน (Archidendron clypearia) ขี้หนอน (Zollingeria dongnaiensis) และขี้อ้าย เป็นต้น 2) ชนิดที่มีพื้นที่ใบจำเพาะมาก เช่น มะกา (Bridelia ovata) กระเจียน (Hubera cerasoides) และยมหิน (Chukrasia tabularis) เป็นต้น 3) ชนิดที่มีขนาดพื้นที่ใบมาก เช่น งิ้วผา ส้มกบ และมะกอก 4) ชนิดที่มีความหนาใบมาก คือ ขว้าว (Haldina cordifolia) ไทรย้อยใบทู่ (Ficus microcarpa) และปอหูช้าง (Pterospermum acerifolium) เป็นต้น และยังพบว่าเขาหินปูนล้วนมีค่าความหลากหลายของลักษณะเชิงหน้าที่สูงกว่าเขาหินปูนผสมแกรนิต ในขณะที่เขาหินปูนผสมแกรนิตปรากฏความเด่นของลักษณะเชิงหน้าที่มากกว่าเขาหินปูนล้วน โดยความหลากหลายของลักษณะเชิงหน้ที่ถูกกำหนดด้วยปัจจัยปริมาณหินโผล่ คือค่าเอนโทรปีกำลังสองของ Rao ในขณะที่ปัจจัยความลึกดินกำหนดปริมาณของค่าความเด่นของลักษณะเชิงหน้าที่ คือค่าถ่วงน้ำหนักลักษณะเชิงหน้าที่ของขนาดพื้นที่ใบ จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าปริมาณหินโผล่ถือว่าเป็นปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญของป่าเขาหินปูนเขตร้อนเนื่องจากทำให้เกิดทั้งความหลากชนิดและความหลายของลักษณะเชิงหน้าที่ ดังนั้นในการจัดการพื้นที่ป่าเขาหินปูนจึงควรพิจารณาทั้งองค์ประกอบชนิดและลักษณะเชิงหน้าที่ของพรรณพืชเพื่อให้เข้าใจถึงการทำงานของระบบนิเวศป่าเขาหินปูนมากยิ่งขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleโครงสร้างสังคมพืช ลักษณะเชิงหน้าที่ และความหลากหลายของพรรณไม้ต้น ในป่าเขาหินปูนเขตร้อน จังหวัดลพบุรีen_US
dc.title.alternativeVegetation structure, functional trait and diversity of trees species in tropical limestone hill forest, Lop Buri provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pitakthai_Pramosee.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.