Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1185
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรุ่งรวี ทวีสุข-
dc.date.accessioned2022-07-07T04:58:07Z-
dc.date.available2022-07-07T04:58:07Z-
dc.date.issued2021-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1185-
dc.description.abstractการส่งเสริมให้มีการเจริญทดแทนไม้ต้นในพื้นสวนป่าสักเป็นการจัดการเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่สวนป่าเศรษฐกิจ และการเข้าใจถึงลักษณะสังคมพืชและลักษณะเชิงหน้าที่ของพรรณพืชอาจช่วยให้การจัดการป่าเศรษกิจประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของชนิดไม้ต้น ความหลากหลายลักษณะเชิงหน้าที่ของพรรณพืช ที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยดิน ในพื้นที่สวนป่าขุนแม่คำมี จังหวัดแพร่ โดยการวางแปลงขนาด 20 เมตร x 20 เมตร ในพื้นที่แปลงปลูกสักอายุ 10 ปี 20 ปี 30 ปี 40 ปี และป่าเบญจพรรณ พื้นที่ละ 10 แปลง รวมทั้งสิ้น 50 แปลง แล้วทำการเก็บข้อมูลด้านองค์ประกอบของชนิดของไม้ต้น ลักษณะเชิงหน้าที่ของพรรณพืชและปัจจัยดิน เพื่อวิเคราะห์หาลักษณะของสังคมพืช ผลการศึกษาพบว่า แปลงปลูกสักอายุ 10 ปี พบชนิดไม้ต้น 42 ชนิด จาก 36 สกุล 21 วงศ์ มีค่าดัชนีความหลากหลาย เท่ากับ 2.41 ชนิดไม้ที่สำคัญ เช่น สัก (Tectona grandis) ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus) และ แดง (Xylia xylocarpa) เป็นต้น แปลงปลูกสักอายุ 20 ปี พบชนิดไม้ต้น 21 ชนิด จาก 17 สกุล 8 วงศ์ มีค่าดัชนีความหลากหลาย เท่ากับ 1.56 ชนิดไม้ที่สำคัญ เช่น สัก แดง และ กางขี้มอด (Albizia odoratissima) เป็นต้น แปลงปลูกสักอายุ 30 ปี พบชนิดไม้ต้น 47 ชนิด จาก 38 สกุล 21 วงศ์ มีค่าดัชนีความหลากหลาย 2.75 ชนิดไม้ที่สำคัญ เช่น สัก ประดู่ และ เก็ดดำ (Dalbergia cultrata) เป็นต้น แปลงปลูกสักอายุ 40 ปี พบชนิดไม้ต้น 27 ชนิด จาก 25 สกุล 12 วงศ์ มีค่าดัชนีความหลากหลาย 2.12 ชนิดไม้ที่สำคัญ เช่น สัก ประดู่ และ ตะคร้อ (Schleichera oleosa) เป็นต้น และป่าเบญจพรรณ พบชนิดไม้ต้น 40 ชนิด จาก 35 สกุล 19 วงศ์ มีค่าดัชนีความหลากหลาย 2.72 ชนิดไม้ที่สำคัญ เช่น ประดู่ แดง และ กางขี้มอด เป็นต้น และพบว่าปริมาณโพแทสเซียมเป็นปัจจัยกำหนดชนิดไม้เด่นในสังคมป่าเบญจพรรณ ปริมาณอนุภาคดินเหนียวและธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน แคลเซียม และแมกนีเซียม เป็นปัจจัยกำหนดชนิดไม้เด่นในแปลงปลูกสักอายุ 30 และ 40 ปี และอนุภาคดินทรายเป็นปัจจัยกำหนดชนิดไม้เด่นในแปลงปลูกสักอายุ 20 ปี และ 10 ปี ส่วนความหลากหลายของลักษณะเชิงหน้าที่ พบว่ามีเพียงค่าความร่ำรวยของลักษณะเชิงหน้าที่ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละสังคมพืช โดยแปลงปลูกสักอายุ 30 ปี และ 10 ปี มีค่าสูงที่สุด ในขณะที่ความเด่นของลักษณะเชิงหน้าที่ที่แสดงออกทางค่าถ่วงน้ำหนักเฉลี่ยระดับสังคมของแต่ละลักษณะของพืชมีความแตกต่างกันในแต่ละสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่าถ่วงน้ำหนักเฉลี่ยระดับสังคมของพื้นที่ใบจำเพาะพบมากสุดในแปลงปลูกสักอายุ 30 ปี 40 ปี และป่าเบญจพรรณ และป่าเบญจพรรณยังปรากฏค่าถ่วงน้ำหนักเฉลี่ยระดับสังคมของสัดส่วนน้ำหนักแห้งต่อน้ำหนักสดของใบมากที่สุด ส่วนค่าถ่วงน้ำหนักเฉลี่ยระดับสังคมของความหนาใบและพื้นที่ใบมีค่าสูงสุดในแปลงปลูกสักอายุ 10 ปี และ 20 ปี และค่าถ่วงน้ำหนักเฉลี่ยระดับสังคมของความหนาแน่นเนื้อไม้มีค่าสูงสุดในป่าเบญจพรรณ แปลงปลูกสักอายุ 30 ปี และ 40 ปี นอกจากนั้นยังพบว่าชนิดไม้ต้นที่ขึ้นมาเจริญทดแทนในพื้นที่สวนป่าสัก สามารถแบ่งตามการปรากฏของลักษณะเชิงหน้าที่ได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ชนิดที่มีค่าของสัดส่วนน้ำหนักแห้งต่อน้ำหนักสดของใบและความหนาแน่นของเนื้อไม้สูง เช่น แดง กางขี้มอด และ ตะคร้อ เป็นต้น 2) ชนิดที่มีค่าพื้นที่ใบจำเพาะสูง เช่น ประดู่ ปอเลียงมัน (Berrya mollis) และ มะคังแดง (Dioecrescis erythroclada) เป็นต้น และ 3) ชนิดพืชที่มีค่าของพื้นที่ใบและความหนาของใบสูง เช่น แคหางค่าง (Fernandoa adenophylla) สัก และ พฤกษ์ (Albizia lebbeck) เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบว่าอนุภาคดินทรายมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความหลากหลายของลักษณะเชิงหน้าที่ แต่ความเด่นของลักษณะเชิงหน้าที่ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอนุภาคดินเหนียวและแมกนีเซียม จากผลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าเมื่อสวนป่าสักอายุมากขึ้นจะมีการเจริญทดแทนของชนิดไม้ต้นจนมีความหลากหลายทั้งทางชนิดและลักษณะเชิงหน้าที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นในการจัดการสวนป่าสักเพื่อให้เกิดความหลากหลายของพรรณพืชควรพิจารณาทั้งองค์ประกอบชนิดไม้และลักษณะเชิงหน้าที่ของพืชen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleลักษณะเชิงหน้าที่และความหลากหลายของไม้ต้น ที่ขึ้นเจริญทดแทนในพื้นที่ สวนป่าขุนแม่คำมี จังหวัดแพร่en_US
dc.title.alternativeFunctional traits and diversity of trees were regenerated in Khun Mae Khum Mee forestation, Phrae provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungrawee_Taweesuk.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.