Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1183
Title: | การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ของศูนย์ป้องกันและปราบปรามที่ 1 (ภาคกลาง) |
Other Titles: | The operation of prevention and suppression increasing efficiency in forest resources encroachment and destruction of the prevention and suppression center 1 (Central Region) |
Authors: | ภูษิต หิรัญพฤกษ์ |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่มีต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ วิเคราะห์สถิติคดีป่าไม้และพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในท้องที่ภาคกลาง การศึกษาใช้แบบสอบถามไปสอบถามเจ้าหน้าที่ป่าไม้สังกัดศูนย์ป้องกันและปราบปรามที่ 1 (ภาคกลาง) และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ท้องที่ภาคกลาง รวม 211 ราย สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ multiple linear regression กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 (p-value = .05) ผลการศึกษา พบว่า เจ้าหน้าที่ป่าไม้มีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ท้องที่ภาคกลางอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.78 สถิติคดีการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ในท้องที่ภาคกลางช่วงปี 2558 – 2562 มีจำนวน 2,653 คดี จำแนกเป็น 1) คดีบุกรุกป่า 1,464 คดี และ 2) คดีทำไม้ 1,189 คดี โดยจังหวัดที่มีสถิติคดีในภาพรวมมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี สระแก้ว และจังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ได้แก่ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ และอาวุธปืน ซึ่งในปัจจุบันอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และอาวุธปืนของศูนย์ป้องกันและปราบปรามที่ 1 (ภาคกลาง) และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ในท้องที่ภาคกลางมีจำนวนค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับพื้นที่รับผิดชอบที่มีความกว้างขวาง หากหน่วยงานได้รับการจัดสรรกรอบอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และอาวุธปืนเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลทำให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับแนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในท้องที่ภาคกลาง มีดังนี้ 1) ประสานการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามฯ ร่วมกับหน่วยงานอื่นในพื้นที่แบบบูรณาการ 2) จัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามฯ อย่างเป็นรูปธรรม 3) รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้กับทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง 4) สร้างเครือข่ายความร่วมมือการแจ้งเบาะแสการกระทำผิดจากทุกภาคส่วนในพื้นที่อย่างเป็นระบบ และ 5) จัดซื้ออาวุธปืนเพื่อใช้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้เพิ่มเติม |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1183 |
Appears in Collections: | Engineering and Agro - Industry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phusit_Hirunpurk.pdf | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.