Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1182
Title: ขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ในชุมชน แม่กลางหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Carrying capacity of community attractions in mae klang luang community, chom thong district, chiang mai province
Authors: เทพ ปรมินทร์ พงษ์พานิช
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: การศึกษาเรื่อง ขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ในชุมชนบ้านแม่กลางหลวงอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทด้านการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านแม่กลางหลวง 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว 3) ศึกษาขีดความสามารถในการรองรับ (carrying capacity) ของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านแม่กลางหลวง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณในวัตถุประสงค์ที่ 2 และใช้แบบประเมินขีดความสามารถในการรองรับในการเก็บข้อมูลในวัตถุประสงค์ที่ 3 จากผู้นำชุมชน คณะกรรมการกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านแม่กลางหลวง และตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้านจำนวนทั้งสิ้น 73 ครัวเรือน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ผลการวิจัยพบว่า ในปี พ.ศ. 2561 บริบทพื้นที่การท่องเที่ยวในชุมชนบ้านแม่กลางหลวงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติที่เข้ามาชมความสวยงามของหมู่บ้าน และวัฒนธรรม โดยส่วนใหญ่พบว่านักท่องเที่ยวที่นิยมพักค้างคืนเป็นชาวต่างชาติที่นิยมการพักในรูปแบบโฮมสเตย์ (homestay) มีการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยการให้ความรู้แก่คนในชุมชนผ่านสมาชิกกลุ่มการท่องเที่ยว ส่งเสริมการอบรมให้มีความรู้และความสามารถในการเป็นผู้สื่อความหมายหรือไกด์ท้องถิ่น ทำให้ชุมชนมีอาชีพเสริมจากการท่องเที่ยวนอกเหนือจากการประกอบอาชีพเกษตรกรและการรับจ้างทั่วไป ทำให้ชุมชนได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว เกิดการรวมกลุ่มการท่องเที่ยวและขยายฐานสมาชิกเพิ่มมากขึ้นทำให้ชุมชนบ้านแม่กลางหลวงมีที่พักในรูปแบบโฮมสเตย์ 17 หลัง รีสอร์ทโดยชุมชน 11 หลัง รีสอร์ทโดยเอกชน 63 หลัง ในส่วนของสินค้าและการบริการมีร้านกาแฟจำหน่ายเมล็ดกาแฟคั่วสด และบริการกาแฟรสชาติเฉพาะที่ปลูกโดยชาวชุมชนบ้านแม่กลางหลวง 3 ร้าน สินค้าผ้าทอจากฝีมือกลุ่มแม่บ้านในชุมชนบ้านแม่กลางหลวง พร้อมกับเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 2 เส้นทาง คือ น้ำตกผาดอกเสี้ยว และดอยหัวเสือโดยการนำทางของไกด์ท้องถิ่นในชุมชนบ้านแม่กลางหลวง การวิเคราะห์ขีดความสามารถในการรองรับ (carrying capacity) ของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านแม่กลางหลวง ผลการศึกษาพบว่าขีดความสามารถในการรองรับสูงสุดของบ้านแม่กลางหลวง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้โดยไม่ทำให้คนในชุมชนบ้านแม่กลางหลวงเกิดความแออัดจำนวน 60 คนต่อช่วงเวลา
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1182
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thep_Paulamin_Phongparnich.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.