Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1181
Title: | รูปแบบภูมิทัศน์ขนาดเล็กเพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน |
Other Titles: | The pattern of small landscape to reduce particulate matters 2.5 microns. |
Authors: | วรญา ยุวะสุต |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | ในปัจจุบันปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีผลกระทบต่อมนุษย์ทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อการลดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 โดยทำการศึกษา 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยทางด้านอุตุนิยมวิทยา ปัจจัยทางด้านพืชพรรณ และปัจจัยทางด้านแหล่งน้ำ และนำตัวแปรที่ได้ไปปรับใช้เพื่อทำการหาแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ขนาดเล็กเพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 อีกทั้งได้ทำการทดลองประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้ในการดักจับฝุ่นละออง PM 2.5 โดยใช้พันธุ์ไม้พุ่มที่มีลักษณะพื้นผิวใบที่แตกต่างกันในการทดลอง จากผลการวิจัยพบว่าตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการลดฝุ่นละออง PM 2.5 ได้แก่ ความเร็วลม ปริมาณน้ำฝน การผลัดใบ และลักษณะของผิวใบ ซึ่งในการทดสอบประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้ ได้ทำการเลือกใช้พันธุ์ไม้โดยพิจารณาจากลักษณะผิวใบ ได้แก่ ผิวใบด้าน ผิวใบมัน และผิวใบสากมีขน ซึ่งลักษณะใบที่มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นละออง PM 2.5 ได้มากที่สุด คือ ผิวใบสากและมีขน (ต้นชาฮกเกี้ยน) ในส่วนของแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ขนาดเล็กเพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ผู้วิจัยได้ทำการกำหนดขอบเขตและรูปทรงของพื้นที่ศึกษา โดยมีลักษณะของพื้นที่เป็นรูปทรงตัว C ขนาด 150 ตารางเมตร ซึ่งในการออกแบบได้ทำการพิจารณาจากการวางตำแหน่งของพันธุ์ไม้ให้สอดคล้องกับทิศทางของลมในช่วงเวลาที่มีฝุ่นละออง PM 2.5 สูง คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวางพันธุ์ไม้ยืนต้นให้ทรงพุ่มมีความสลับซับซ้อน และวางพันธุ์ไม้เพื่อเพิ่มช่องวางในการเพิ่มความเร็วของลมในการระบายอากาศ และพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ และวางชนิดพันธุ์ไม้พุ่มไว้เป็นแนวรั้วเพื่อป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 จากทางด้านข้าง อีกทั้งวางแผงไม้เลื้อยไว้บริเวณด้านข้างตัวอาคารเพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าสู่ด้านในอาคาร รวมถึงการใช้พันธุ์ไม้ในการจัดภูมิทัศน์ จะเลือกใช้พันธุ์ไม้ที่มีความสามารถในการดักจับฝุ่นละออง PM 2.5 ได้แก่ ตะขบฝรั่ง แปรงล้างขวด อินทนิล แคแสด ทองอุไร กรรณนิการ์ ชาฮกเกี้ยน นีออน และสร้อยอินทนิล |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1181 |
Appears in Collections: | Engineering and Agro - Industry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Voraya_Yuvasut.pdf | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.