Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1177
Title: การแปรภาพทิวทัศน์เป็นลายเส้นดินสออัตโนมัติจากภาพถ่าย
Other Titles: Automatic pencil sketch landscape image generation from photograph
Authors: อติพร ขยัน
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการแปรภาพทิวทัศน์เป็นลายเส้นดินสออัตโนมัติจากภาพถ่าย โดยใช้วิธีโซเบล และการลดสัญญาณรบกวนบนพื้นผิว โดยใช้การกรองความถี่ต่ำผ่านแบบเกาส์ โดยมีการปรับขนาดตามคุณลักษณะวรรณะสีโทนของภาพถ่าย ในการศึกษานี้ได้สุ่มคัดเลือกภาพตัวอย่าง จำนวน 35 ภาพ และดำเนินการจัดแบ่งวรรณะสีโทนออกเป็น 3 กลุ่มตามค่ามัธยฐานในแต่ละภาพ ประกอบด้วย วรรณะสีโทนดำ, วรรณะสีโทนกลาง และ วรรณะสีโทนขาว เมื่อนำภาพถ่ายทิวทัศน์มาแปรเพื่อหาขอบโครงร่างของเส้น จะปรากฏสัญญาณรบกวนซึ่งเป็นจุดรบกวนในภาพ ซึ่งเกิดจากแสง สภาพแวดล้อม หรือลักษณะพื้นผิวของวัตถุในภาพถ่าย โดยการเพิ่มปริมาณการหาขอบเส้นเพื่อให้วัตถุในภาพเด่นชัดมากขึ้น จะส่งผลให้สัญญาณรบกวนปรากฏมากขึ้นตามการเพิ่มปริมาณความคมชัด ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงทำการปรับภาพให้มีความราบรื่นมากขึ้นก่อนการหาเส้นของภาพ ในการวิจัยได้ทำการใช้การกรองความถี่ต่ำผ่านแบบเกาส์เซียน เพื่อลดทอนรายละเอียดภาพจากการหาค่าที่เหมาะสม สำหรับการหาเส้นขอบของภาพที่มีค่ามัธยฐานที่แตกต่างกันออกไปและจากการศึกษาผู้วิจัยได้ทำการนำผลการศึกษาไปประเมินผลลัพธ์ผ่านระบบออนไลน์เพื่อหาผลที่เหมาะสมที่สุดจากผู้ประเมินที่มีความรู้ด้านศิลปะและภาพถ่าย จากการทดลองพบว่า มีความถูกต้องในการจำแนกวรรณะสีโทนได้ถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 84 และมีค่าความพึงพอใจในการแปรภาพทิวทัศน์เป็นลายเส้นดินสออัตโนมัติจากภาพถ่ายที่เฉลี่ยร้อยละ 72.01
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1177
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atiporn_Khayan.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.