Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1176
Title: | กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจเชิงพุทธพาณิชย์ กรณีศึกษา วัดในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Marketing strategies of buddhist commercial:a case study of temple in Muang Chiang Mai province |
Authors: | ทวิภัทร ปัญญาวิลาศ |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจเชิงพุทธพาณิชย์ กรณีศึกษา วัดในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในธุรกิจเชิงพุทธพาณิชย์ และ (2) เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจเชิงพุทธพาณิชย์ ในพื้นที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน ทั้งเชิงปริมาณ ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่เข้ามาใช้บริการต่าง ๆ ของวัดในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามต่อประชากร 400 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ และประเมินค่า (Likert Scale) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในธุรกิจเชิงพุทธพาณิชย์ทั้งหมด 7 ด้าน อยู่ในระดับปานกลางได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านบุคคล ด้านกระบวนการ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ และในระดับน้อย คือด้านการส่งเสริมการตลาด ระดับน้อย และในเชิงคุณภาพ ได้ทำการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่ดูแล จัดการ การหารายได้หรือระดมทุนเข้าสู่วัด จำนวน 140 ราย โดยการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ตลอดระยะเวลา 8 เดือน เพื่อความแม่นยำและถูกต้องชัดเจนมากที่สุด ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อเรื่องโลกหน้ายังคงอยู่ แต่ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเข้าสู่ระบบทุนนิยม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความคิด ความเชื่อและค่านิยมของคน นอกจากสภาพสังคมและแนวคิดของคนที่เปลี่ยนไปแล้ว รูปแบบ ความคิด ความเชื่อ ในการสร้างพุทธลักษณ์ที่นำไปสูพุทธพาณิชย์ในแต่ละยุคสมัยได้เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของแต่ละสังคม ซึ่งการใช้ความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนาพุทธ มาทำให้เกิดรายได้หรือข้าวของเงินทองให้กับตนเอง ซึ่งเป็นแนวทางที่ขัดกับหลักคำสอนของพุทธศาสนาเป็นอย่างมากพุทธพาณิชย์ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการซื้อ-ขายพระเครื่องอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ยังหมายถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่ใช้ความเชื่อ ความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมาแปลงเป็นเงินหรือทรัพย์สิน ทำให้เกิดกระบวนการค้าขายความเชื่อและความศรัทธาในพุทธศาสนาโดยใช้วัตถุหรือสัญลักษณ์ ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาหรือพระรัตนตรัย มาเป็นเครื่องมือสร้างรายได้แสวงหาผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ กล่าวคือ เป็นการใช้เงินเพื่อแสดงออกซึ่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนิกชนกับพุทธศาสนา ที่บ่งบอกถึงความใกล้ชิดและลักษณะความสัมพันธ์ที่มีร่วมกัน ผ่านกิจกรรมหรือพิธีกรรมที่เกี่ยวข้อง ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากคนในวัฒนธรรมได้ละเลยการให้คุณค่าของพุทธสัญลักษณ์ ขาดการสืบทอดองค์ความรู้ด้านปรัชญาพุทธศาสนาที่ถูกต้อง |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1176 |
Appears in Collections: | Engineering and Agro - Industry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Taviphat_Panyawilad.pdf | 5.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.