Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1174
Title: แนวทางการจัดการกลุ่มเกษตรกรเพื่อนำไปสู่วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพ ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The guidelines for agricultural group, management leading to community enterprise of biochar product in Saraphi district, Chiang Mai province
Authors: พลอยมรกต เกษกาญจน์
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาวิธีการจัดการกลุ่มเกษตรกร เพื่อนำไปสู่วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกร เพื่อนำไปสู่วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และ 3. เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินของผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพของกลุ่มเกษตรกร เพื่อนำไปสู่วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์เชิงลึกประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรวม 10 คน เกี่ยวกับต้นทุนการผลิต รายได้ และการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์จากมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจากโครงการ (IRR) ระยะเวลาคืนทุน (PB) และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารจัดการกลุ่มใช้รูปแบบ POLC สามารถอธิบายได้ดังนี้ มีการวางแผนการบริหาร งบประมาณ และขั้นตอนการดำเนินโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ มีการกำหนดโครงสร้างองค์กรอย่างชัดเจน หัวหน้ากลุ่มต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล กระตือรือร้น และเชื่อถือได้ กลุ่มจึงประสบความสำเร็จและสามารถพึ่งพาตนเองได้ 2) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มพบว่า ความมุ่งมั่น การเรียนรู้ตลอดชีวิต มนุษยสัมพันธ์ และทักษะการสื่อสาร และทักษะการแก้ปัญหา การตัดสินใจส่งผลต่อความสำเร็จต่อกลุ่มมากที่สุด 3) จากการศึกษาต้นทุนจากการดำเนินงานพบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกในที่ดิน อาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตจำนวน 1,004,380.00 บาท รายได้รวม 202,200.00 บาทต่อปี ต้นทุนเฉลี่ย 16.82 บาทต่อกิโลกรัม จากการศึกษาด้านผลตอบแทนจากการดำเนินงานพบว่า ผลตอบแทนสุทธิสำหรับปีแรกเท่ากับ 104,301.47 บาท โดยมูลค่าปัจจุบันสุทธิของกระแสเงินสดรับสุทธิคิดลดร้อยละ 7 เท่ากับ 58,176.61 บาท อัตราส่วนต้นทุนเท่ากับ 1.00 อัตราผลตอบแทนภายในคือ 24.03 เปอร์เซ็นต์ โดยมีระยะเวลาคืนทุน 7 ปี 7 เดือน 3 วัน แสดงว่าโครงการนี้สามารถรับได้ จากการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการแสดงให้เห็นดังนี้ การศึกษานี้กำหนดการวิเคราะห์อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ร้อยละ 1.43 เพิ่มเติม ผลการวิเคราะห์โครงการพบว่า ระยะเวลาคืนทุน 7 ปี 6 เดือน 2 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 58,186.65 บาท อัตราส่วนต้นทุนผลประโยชน์เท่ากับ 1.00 อัตราผลตอบแทนภายใน 27.01 เปอร์เซ็นต์ จึงยอมรับโครงการ
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1174
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry
Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ploymorakot_Ketkarn.pdf5.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.