Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1173
Title: ผลของการสกัดไขมันออกและอัลตราโซนิคต่อสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและ กิจกรรมการต้านออกซิเดชันของสารสกัดดอกเห็ดถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris)
Other Titles: Effect of defatting and ultrasonication on bioactive compounds and antioxidant activity of cordyceps militaris fruiting body extracts.
Authors: สุทธิดา สุทธิเลิศ
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: เห็ดถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris) เป็นเห็ดทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิด รวมถึงสารต้านออกซิเดชันและสารยับยั้งการอักเสบ ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีอายุยืนยาว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเตรียมสารสกัดจากเห็ดถั่งเช่าสีทอง วิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและสมบัติต้านออกซิเดชันของสารสกัดที่ได้ โดยนำเห็ดถั่งเช่าสีทองที่ผ่านการทำแห้งด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมงมาทำการศึกษาคุณภาพทางเคมีและกายภาพ ได้แก่ ปริมาณคอร์ไดซิปินและอะดีโนซีน องค์ประกอบทางเคมี (ปริมาณความชื้น ไขมัน โปรตีน เถ้าและคาร์โบไฮเดรต) ค่ากิจกรรมของน้ำอิสระ และค่าสี (L* a* b*) หลังจากนั้นทำการเตรียมสารสกัดจากเห็ดถั่งเช่าสีทอง โดยศึกษาปัจจัย 2 ปัจจัย ได้แก่ วิธีการเตรียมตัวอย่าง (สกัดและไม่สกัดไขมันออก) และสภาวะในการสกัด (ใช้และไม่ใช้อัลตราซาวน์ช่วยสกัด) นำสารสกัดหยาบพอลิแซคคาไรด์ที่ได้ 4 ตัวอย่าง หาปริมาณผลผลิต วิเคราะห์ปริมาณคอร์ไดซิปินและอะดีโนซีน ปริมาณพอลิแซคคาไรด์, ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด, ความสามารถในการต้านออกซิเดชัน 6 วิธี ได้แก่ ความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระชนิด DPPH, ABTS, ซูเปอร์ออกไซด์, และไฮดรอกซิล ความสามารถในการจับกับอิออนของเฟอรัส และค่าความสามารถในการรีดิวซ์ วิเคราะห์ชนิดและปริมาณของสารประกอบฟีนอลิกด้วยเทคนิค HPLC พบว่าเห็ดถั่งเช่าสีทองที่ใช้ในการทดลองนี้มีปริมาณคอร์ไดซิปินและอะดีโนซีนเท่ากับ 7.1181 ± 0.1495 และ 0.4179 ± 0.0699 มิลลิกรัม/กรัม ตามลำดับ มีปริมาณความชื้น ไขมัน โปรตีน เถ้าและคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 8.31 ± 0.23, 3.19 ± 0.25, 30.97 ± 0.30, 6.3 ± 0.17, และ 14.9 ± 0.35 ตามลำดับ ค่ากิจกรรมของน้ำอิสระ เท่ากับ 0.30 ± 0.05 และค่าสีมีค่า L* a* และ b* เท่ากับ 51.12 ± 0.07, 13.56 ± 0.15, และ 18.85 ± 0.07 ตามลำดับ เมื่อนำผงเห็ดถั่งเช่าสีทองมาสกัดภายใต้สภาวะในการสกัดที่แตกต่างกัน พบว่าตัวอย่างสารสกัดทั้ง 4 ตัวอย่างมีปริมาณผลผลิตไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) โดยมีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 40.89 – 41.64 ตัวอย่างสารสกัดที่สกัดไขมันออกและใช้อัลตราซาวน์ช่วยมีปริมาณพอลิแซคคาไรด์ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและความสามารถในการต้านออกซิเดชันทั้ง 6 วิธีสูงที่สุด (p < 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่ามีปริมาณ Gallic acid, Protocatechuic acid, p-Hydroxybenzoic acid, และ p-Coumaric acid สูงที่สุดอีกด้วย (p < 0.05) โดยมีค่าเท่ากับ 0.128 ± 0.001, 0.078 ± 0.001, 0.042 ± 0.001, และ 0.110 ± 0.002 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ดังนั้นสารสกัดจากเห็ดถั่งเช่าสีทองจึงมีศักยภาพที่ดีในการเป็นสารที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภค
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1173
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutthida_Sutthilert.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.