Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1167
Title: การศึกษาการผลิตเมล็ดพันธุ์กล็อกซิเนียในระบบกึ่งปิด
Other Titles: The study of Gloxinia seed production under a semi-closed system
Authors: สุนิสา สุดไทย
Keywords: เมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์ -- การขยายพันธุ์
เมล็ดพันธุ์ -- การผลิต
คาร์บอนไดออกไซด์
ไม้ดอกไม้ประดับ -- การผลิต
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: กล็อกซิเนีย (Sinningia speciosa) เป็นไม้ดอกที่มีลักษณะดอกสวยงาม และเป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี การใช้ระบบโรงงานผลิตพืชที่มีการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลิตเมล็ดพันธุ์กล็อกซิเนียทำให้สามารถผลิตเมล็ดกล็อกซิเนียได้ในทุกฤดูกาลและในปริมาณมาก ทั้งนี้เมล็ดของกล็อกซิเนียนั้นมีราคาสูงจึงเหมาะสมต่อการผลิตในระบบโรงงานผลิตพืช งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาอิทธิพลของสภาพแสงเทียม ความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยและการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ต่อการเจริญเติบโตและผลิตเมล็ดพันธุ์ของต้นกล็อกซิเนีย จากผลการศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและการผลิตเมล็ดพันธุ์กล็อกซิเนีย ระหว่างการปลูกภายใต้ระบบโรงเรือนพลาสติกและในระบบปิดที่มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ 2 ระดับ คือ 400 ppm และ 1,000 ppm ทดสอบในกล็อกซิเนีย 3 สายพันธุ์คือ 1. Avanti mix 2. Double brocade blue และ 3. Double brocade mix พบว่ากล็อกซิเนียทั้ง 3 สายพันธุ์มีแนวโน้มการเจริญเติบโตมากกว่าเมื่อปลูกภายใต้การเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ 1,000 ppm และในส่วนของจำนวนเมล็ดต่อต้นพบว่ากล็อกซิเนียทั้ง 3 สายพันธุ์ที่ปลูกในโรงเรือนพลาสติกมีจำนวนเมล็ดที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับการปลูกภายในระบบปิดทั้งสองสภาวะ ในการทดลองที่ 2 การศึกษาอิทธิพลของสภาพแสงเทียมต่อการเจริญเติบโตและการผลิตเมล็ด พบว่าในด้านการเจริญเติบโตไม่มีความแตกต่างกันในแต่ละชนิดไฟ แต่การติดเมล็ดและจำนวนเมล็ดพบว่าพืชที่เจริญเติบโตภายใต้แสง Red:Blue (2:1) ที่ความเข้มแสง 150 µmol/m2/s มีปริมาณเมล็ดมากกว่าทุกชนิดไฟอย่างมีนัยสำคัญ และในการทดลองที่ 3 การศึกษาอิทธิพลของความเข้มข้นปุ๋ยและการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ต่อการเจริญเติบโตและการผลิตเมล็ดกล็อกซิเนีย ในสภาวะเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (1,000 ppm) ส่งผลให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดีว่าในสภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ปกติ (400 ppm) ในทุกตำรับ ต้นที่ได้รับความเข้มปุ๋ยที่ระดับ EC=4 mS/cm ที่สภาวะปกติ มีอาการเหี่ยวและตายก่อนตำรับอื่น นอกจากนี้การเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ยังส่งผลในด้านการผลิตเมล็ด โดยเฉพาะพืชที่ได้รับความเข้มปุ๋ยที่ระดับ EC=2 mS/cm มีจำนวนเมล็ดที่มากกว่าตำรับอื่น และยังมีความแข็งแรงของเมล็ดสูงที่สุด
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1167
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunisa_Sudthai.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.