Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1164
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorBouakham Keoboua-
dc.date.accessioned2022-07-07T04:29:04Z-
dc.date.available2022-07-07T04:29:04Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1164-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้เพื่อทราบถึงชนิด และความเข้มข้นของสารชีวภาพต่อการ ยกระดับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พริกขี้หนู โดยการกระตุ้นความงอกของเมล็ดหรือการทำ seed priming และเพื่อทราบถึงผลของอุณหภูมิต่อการเก็บรักษาเมล็ดหลังการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ซึ่งในการทดลองที่ 1 ได้ประเมินผลของระยะเวลาการดูดน้ำของเมล็ดที่เหมาะสมสำหรับการ กระตุ้นความงอกของเมล็ดหรือการทำ seed priming โดยแช่เมล็ดในน้ำ RO เป็นเวลา 0, 4, 8, 12, 16, 20 และ 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ25 องศาเซลเซียส ผลที่ได้พบว่าการแช่เมล็ดพริกในน้ำ RO ที่ 12 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการกระตุ้นความงอกของเมล็ดพันธุ์พริกขี้หนู เนื่องจากทำให้ เมล็ดใช้เวลาเฉลี่ยในการงอกที่น้อย รวมทั้งมีเปอร์เซ็นต์ความงอก และความเร็วในการงอกสูงที่สุดเมื่อ ทดสอบในห้องปฏิบัติการ ดังนั้นจึงได้นำระยะเวลาการแช่เมล็ดที่ 12 ชั่วโมง ไปใช้เพื่อทำการกระตุ้น ความงอกหรือการทำ seed priming ในการทดลองอื่น ๆ ต่อไป การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของการทำ seed priming ด้วยสารชีวภาพ ได้แก่ สารละลาย ไคโตซาน และน้ำหมักชีวภาพจากพืชต่อการยกระดับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พริกขี้หนู โดยการแช่เมล็ดเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ25 องศาเซลเซียส ในสารละลายไคโตซาน (50, 100 และ 200 mg/l) น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วนของน้ำหมักชีวภาพ:น้ำ RO (1:500, 1:750 และ 1:1000 v/v) น้ำ RO และเมล็ดที่ไม่ผ่านการทำ seed priming จากนั้นนำไปทดสอบความงอกภายใต้สภาพ ห้องปฏิบัติการ และสภาพโรงเรือน ผลที่ได้พบว่าการทำ seed priming ด้วยการแช่เมล็ดใน สารละลายไคโตซานความเข้มข้น 50 mg/l มีผลทำให้เมล็ดใช้เวลาเฉลี่ยในการงอกที่น้อย รวมทั้งมี เปอร์เซ็นต์ความงอกและความเร็วในการงอกสูงที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าการทำ seed priming ด้วย สารละลายไคโตซานความเข้มข้น 50-100 mg/l และน้ำหมักชีวภาพ:น้ำ RO ในอัตราส่วน 1:500 (v/v) มีผลให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของต้นกล้าที่สูง และมีความแตกต่างทางสถิติกับเมล็ดที่ไม่ทำ seed priming เมื่อทำการทดสอบความงอกในสภาพโรงเรือน การทดลองที่ 3 ได้นำเมล็ดพันธุ์พริกขี้หนูที่ผ่านการทำ seed priming ด้วยสารละลาย ไคโตซานความเข้มข้น 50 mg/l มาตรวจสอบความแข็งแรงโดยวิธีการเร่งอายุที่อุณหภูมิ42 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์100 เปอร์เซ็นต์ เป็นระยะเวลา 4 วัน แล้วนำมาทดสอบความงอกใน สภาพห้องปฏิบัติการ และสภาพโรงเรือน ผลที่ได้พบว่าการทำ seed priming ด้วยสารละลายไคโต ซานเข้มข้น 50 mg/l ยังคงมีคุณภาพและความแข็งแรงที่สูงกว่าเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้ผ่านการทำ seed priming การทดลองที่ 4 ผลของอุณหภูมิต่อการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พริกขี้หนู หลังผ่านการทำ seed priming ถูกประเมินโดยนำเมล็ดมาบรรจุในถุงอลูมิเนียมฟอยล์ปิดผนึกแล้วนำไปเก็บรักษาที่ อุณหภูมิ5 และ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 เดือน ผลพบว่าการเก็บรักษาเมล็ดที่ผ่านการทำ seed priming ด้วยสารละลายไคโตซานเข้มข้น 50 mg/l เป็นเวลา 6 เดือน เมล็ดยังคงมีเปอร์เซ็นต์ ความงอก และความเร็วในการงอกสูงที่สุด รวมทั้งเมล็ดใช้เวลาเฉลี่ยในการงอกที่น้อย และมีความ แตกต่างทางสถิติกับเมล็ดที่ไม่ทำ seed priming เมื่อทำการทดสอบความงอกในสภาพโรงเรือน เมื่อ พิจารณาอุณหภูมิระหว่างการเก็บรักษา พบว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ5 องศาเซลเซียส ทำให้เมล็ด ใช้เวลาเฉลี่ยในการงอกที่น้อย มีความยาวยอดของต้นกล้าสูงสุด เมื่อทำการทดสอบความงอกในสภาพ ห้องปฏิบัติการ รวมทั้งมีน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของต้นกล้าสูงสุด เมื่อทำการทดสอบความงอกใน สภาพโรงเรือน โดยผลมีความแตกต่างทางสถิติกับเมล็ดที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ25 องศาเซลเซียส เมื่อ พิจารณาอิทธิพลร่วมระหว่างการทำ seed priming และอุณหภูมิระหว่างการเก็บรักษา พบว่าไม่มีผล ต่อความแตกต่างทางสถิติในด้านคุณภาพเมล็ดพันธุ์ และการเจริญเติบโตของต้นกล้าทั้งในสภาพ ห้องปฏิบัติการ และสภาพโรงเรือนen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยแม่โจ้ -- วิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectพริก -- เมล็ดพันธุ์en_US
dc.subjectการงอกของเมล็ดen_US
dc.subjectการงอกของเมล็ดen_US
dc.subjectพริกขี้หนูen_US
dc.subjectไคโตซานen_US
dc.titleการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์พริกโดยวิธีการทำ seed primingen_US
dc.title.alternativeSeed quality enhancement in chilli pepper (capsicum spp.) by priming methoden_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bouakham_Keoboua.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.