Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1162
Title: ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพของผลมะเดื่อฝรั่ง
Other Titles: Effect of plant growth regulators on growth and development and fruit quality of fig
Authors: วีรภัทร ปั้นฉาย
Keywords: มะเดื่อฝรั่ง
มะเดื่อฝรั่ง -- การปลูก
มะเดื่อฝรั่ง -- การขยายพันธุ์
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: การศึกษาการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลมะเดื่อฝรั่ง (Ficus carica L.) พันธุ์ แบล็คเจนัว ดำเนินการ ณ แปลงทดลองไม้ผล สาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างระยะเวลา ตั้งแต่เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2562 ความสูงจากระดับน้ำทะเล 322 เมตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเจริญเติบโตและสารควบคุมการเจริญเติบของพืชต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลมะเดื่อฝรั่ง พบว่า การเจริญเติบโตของผลมะเดื่อฝรั่งมีลักษณะการเจริญเติบโตแบบ double sigmoid curve สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ในสัปดาห์ที่ 1-4 ผลจะมีการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักผลอย่างช้าๆ โดยมีน้ำหนักผลเท่ากับ 0.01-7.60 กรัม ระยะที่ 2 ในสัปดาห์ที่ 5-8 ผลมีการขยายขนาดเพิ่มขึ้น มีน้ำหนักผลเท่ากับ 10.56-25.48 กรัม และ ระยะที่ 3 ในสัปดาห์ที่ 9-12 ผลมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างอย่างรวดเร็ว โดยมีน้ำหนักผลเท่ากับ 12.97-69.39 กรัม ส่วนปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ และความแน่นเนื้อ ในสัปดาห์ที่ 12 มีค่าเท่ากับ 17.80 องศาบริกซ์ 0.23 เปอร์เซ็นต์ และ 0.10 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำดับ ขณะที่สีผิวผลเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองในสัปดาห์ที่ 10 และจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงจนถึงสีม่วงดำในสัปดาห์ที่ 12 การศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลมะเดื่อฝรั่ง พบว่า การใช้ GA4+7 250 มิลลิกรัมต่อลิตร + BA 250 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับการตัดยอด มีผลทำให้มีความยาวยอดใหม่เท่ากับ 15.13 เซนติเมตร จำนวนผลเท่ากับ 2.77 ผลต่อกิ่ง และจำนวนใบ เท่ากับ 2.02 ใบ จำนวนผลเฉลี่ย 2.77 ผลต่อกิ่ง และจำนวนใบเฉลี่ย 2.02 ใบ ซึ่งมากกว่ากรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของคุณภาพของผลมะเดื่อฝรั่ง พบว่า การใช้ บราสสิโนสเตอร์รอยด์ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้น้ำหนักผลมากที่สุดเท่ากับ 68.13 กรัม มีความกว้างผลเท่ากับ 52.38 มิลลิเมตร และความยาวผลเท่ากับ 56.10 มิลลิเมตร นอกจากนี้ยังมีผลให้ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ ปริมาณแอนโทไซยานิน และ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงสุด เท่ากับ 17.12 องศาบริกซ์ 19.46 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด และ 936.26 ไมโครกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ ส่วนการใช้ 3,5,6-TPA 30 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้มีความแน่นเนื้อผลเพิ่มขึ้น 85.77 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ในขณะที่ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ต่อปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ลดลงเท่ากับ 123.83 อย่างไรก็ตามการพ่น CPPU, BRs และ 3,5,6-TPA ไม่มีผลต่อปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ ค่าความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณวิตามินซี
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1162
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Werapat_Panchai.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.