Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1161
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปานชนก นิ่มทับทิม | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-07T04:22:56Z | - |
dc.date.available | 2022-07-07T04:22:56Z | - |
dc.date.issued | 2020 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1161 | - |
dc.description.abstract | น้ำ และ ปุ๋ยมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชในทุกระบบการปลูก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณและ วิธีการให้สารละลายปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นพิทูเนียในระบบกึ่งปิด โดยมีการวางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomized Completely Block Design) แบ่งออกเป็น 4 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่ 1 การศึกษาระยะเวลาการให้สารละลายปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตในพิทูเนียสายพันธุ์ Red และ Purple การทดลองนี้จะให้สารละลายปุ๋ยครั้งละ 200 มิลลิลิตรต่อต้น ในความถี่ที่แตกต่างกัน หลังการทดลอง 30 วัน พบว่า การให้สารละลายปุ๋ยในปริมาณน้อยส่งผลให้มีการเจริญเติบโตส่วนราก การทดลองที่ 2 ผลของความถี่ในการให้สารละลายปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพิทูเนียสายพันธุ์ Coral ในการทดลองนี้แบ่งการให้ปุ๋ยออกเป็น 4 สิ่งทดลอง โดยมีการแปรผันทั้งปริมาณและความถี่ในการให้ หลังการทดลอง 60 วัน พบว่า พิทูเนียที่ได้รับสารละลายปุ๋ย 100 มิลลิลิตร 2 ครั้งต่อวัน มีอัตราการสังเคราะห์แสง และ อัตราการนำไหลของปากใบสูงที่สุด อีกทั้งพบว่า มีปริมาณ Malondialdehyde ในเนื้อเยื่อใบ และ จำนวนดอกมากกว่าสิ่งทดลองอื่น ๆ โดยไม่มีความแตกต่างทางสถิติของน้ำหนักแห้งต้น และ รากระหว่างต้นพิทูเนียจาก 4 สิ่งทดลอง ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า การให้สารละลายปุ๋ย 100 มิลลิลิตร 2 ครั้งต่อวัน อาจมีความเหมาะสมต่อการปลูกพิทูเนียสายพันธุ์ Coral ในระบบกึ่งปิด การทดลองที่ 3 ศึกษาความเข้มข้นและระดับ pH ของสารละลายปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพิทูเนียสายพันธุ์ Purple โดยทำการแปรผันค่าความเข้มปุ๋ยและค่า pH รวม 9 สิ่งทดลอง พบว่า ค่า pH 5.2 มีผลให้น้ำหนักแห้งของต้นพิทูเนียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การทดลองที่ 4 ศึกษาการใช้น้ำของพืช โดยการชั่งน้ำหนักรายชั่วโมงเพื่อศึกษาปริมาณน้ำที่สูญเสียไปในแต่ละชั่วโมง ระหว่าง 06.00 - 22.00 น. โดยทำการทดลองในพิทูเนีย 2 สายพันธุ์ คือ Purple และ Coral โดยปลูกในสภาวะที่มีคุณภาพแสงแตกต่างกัน 4 รูปแบบ พบว่า ในแต่ละช่วงอายุของพิทูเนียมีรูปแบบการใช้น้ำในรอบวันที่แตกต่างกัน และสายพันธุ์ Coral มีอัตราการใช้น้ำน้อยที่สุดเมื่อปลูกใน หลอดไฟ LED Shigyo (R:B 2:1) ซึ่งเป็นหลอดไฟที่ให้แสงสีแดง และสีน้ำเงินเป็นหลัก | en_US |
dc.description.sponsorship | Maejo University | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.subject | พิทูเนีย | en_US |
dc.subject | พิทูเนีย -- ปุ๋ย | en_US |
dc.subject | สารละลาย | en_US |
dc.subject | การสังเคราะห์แสง | en_US |
dc.subject | ไม้ดอก | en_US |
dc.subject | ไม้ดอก -- การเจริญเติบโต | en_US |
dc.subject | พิทูเนีย -- การเจริญเติบโต | en_US |
dc.title | การพัฒนาระบบให้สารละลายปุ๋ยอัตโนมัติเพื่อการเจริญเติบโตของพิทูเนียในระบบกึ่งปิด | en_US |
dc.title.alternative | Optimization of fertigation system for petunia grownunder semi-closed plant production system | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Engineering and Agro - Industry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Parncanok_Nimthapthim.pdf | 2.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.