Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1160
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุทธิภัทร แซ่ย่าง-
dc.date.accessioned2022-07-07T04:20:53Z-
dc.date.available2022-07-07T04:20:53Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1160-
dc.description.abstractการศึกษาผลของวัสดุปรับปรุงดินต่อสมบัติของดินใต้ทรงพุ่มมะม่วง ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ทำการศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 – กรกฎาคม พ.ศ. 2561 วางแผนการทดลองแบบสุ่มลงในบล็อกอย่างสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design: RCBD) ประกอบด้วย 6 ตำรับ 4 ซ้ำ ดังนี้ 1) ตำรับควบคุม 2) ถ่านชีวภาพ 10 กิโลกรัมต่อต้น 3) มูลไก่ 10 กิโลกรัมต่อต้น 4) มูลวัว 10 กิโลกรัมต่อต้น 5) พัมมิซ 10 กิโลกรัมต่อต้น และ 6) ทรายหยาบ 10 กิโลกรัมต่อต้น ผลการทดลองพบว่า หลังจากใส่วัสดุปรับปรุงดินนาน 12 เดือน การใส่พัมมิซส่งผลทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างของดินลดลงทั้งดินระดับบน (0-15 ซม.) และระดับล่าง (15-30 ซม.) ส่วนการใส่มูลไก่มีผลทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินระดับดินบนสูงขึ้น ปริมาณฟอสฟอรัสที่สกัดได้สูงที่สุดเมื่อมีการปรับปรุงดินด้วยมูลไก่ทั้งดินระดับบนและดินระดับล่าง การใส่ถ่านชีวภาพช่วยมีผลทำให้ปริมาณโพแทสเซียมและแมกนีเซียมที่สกัดได้ในดินเพิ่มขึ้นสูงที่สุด ทั้งในดินระดับบนและดินระดับล่าง ปริมาณแคลเซียมที่สกัดได้ในดินหลังจากทำการใส่วัสดุปรับปรุงดินในเดือนที่ 3, 6 และ 9 มีปริมาณสูงที่สุดเมื่อมีการใส่พัมมิซที่ดินระดับบน การใส่มูลไก่และมูลวัวมีผลทำให้ปริมาณแมงกานีสที่สกัดได้ในดินเพิ่มสูงที่สุดในดินทั้งสองระดับ และปริมาณสังกะสีที่สกัดได้ในดินระดับบนและดินระดับล่างสูงที่สุดเมื่อมีการใส่มูลไก่ สมบัติทางกายภาพของดินพบว่าการใส่มูลไก่และมูลวัวที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน ทำให้ความหนาแน่นรวมของดินลดลงที่ระดับบน ส่วนในดินระดับล่างพบว่าการใส่พัมมิซสามารถลดความหนาแน่นรวมของดิน การใส่ถ่านชีวภาพทำให้ความหนาแน่นรวมลดน้อยที่สุดหลังจากการใส่ 12 เดือน มูลวัวและพัมมิซทำให้ความชื้นของดินเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในดินบนและดินล่าง หลังจากการใส่ 6, 9 และ 12 เดือน อย่างมีนัยสำคัญ การใส่ถ่านชีวภาพมีผลทำให้ความคงทนของเม็ดดินเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในระยะ 6 และ 12 เดือน การใส่วัสดุปรับปรุงดินทุกชนิดไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของเนื้อดินทั้ง 2 ระดับ สมบัติทางชีวภาพของดิน พบว่าการใส่มูลวัวทำให้ปริมาณแบคทีเรียในดินเพิ่มที่สุดที่ 12 เดือน 5.49x106 CFU ส่วนการใส่มูลไก่ในช่วง 3 และ 6 เดือนแรก ทำให้ปริมาณเชื้อราในดินเพิ่มขึ้น คือ 4.91x103 และ 1.93x104 CFU ขณะที่ช่วง 9 และ 12 เดือน การใส่ถ่านชีวภาพทำให้ปริมาณเชื้อราในดินเพิ่มขึ้นคือ 4.69x104 และ 4.74x105 CFU ตามลำดับ การใส่มูลไก่มีผลทำให้ปริมาณแอคติโนมัยซีทในดินมากที่สุดที่ช่วง 6, 9 และ 12 เดือน คือ 2.73x105, 3.08x106 และ 3.40x106 CFU ตามลำดับen_US
dc.description.sponsorshipMeajo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.subjectวัสดุปรับปรุงดินen_US
dc.subjectการปรับปรุงดินen_US
dc.subjectมะม่วง -- ดินen_US
dc.subjectดิน -- คุณภาพ -- ไทย -- สระบุรีen_US
dc.titleผลของวัสดุปรับปรุงดินต่อคุณสมบัติของดินใต้ทรงพุ่มมะม่วง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรีen_US
dc.title.alternativeEffect of soil amendments on soil properties under mango canopies at Chaloem Phra Kiat district, Saraburee provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutipat_Saeyang.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.