Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1144
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อรรฆพร คงจิต | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-04T09:00:33Z | - |
dc.date.available | 2022-07-04T09:00:33Z | - |
dc.date.issued | 2020 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1144 | - |
dc.description.abstract | พลังงานลมในประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเร็วลมต่ำและไม่สม่ำเสมอ โครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยส่วนมากจึงนิยมติดตั้งบริเวณอ่าวไทย หรือบริเวณยอดเขาและเทือกเขา เพราะมีความเร็วลม 6.4 เมตรต่อวินาทีขึ้นไป ที่ความสูง 50 เมตร ลมในบริเวณนี้จะได้รับอิทธิพลจากลมภูเขาและลมหุบเขา ลมมีการเปลี่ยนทิศบ่อยกว่าในบริเวณพื้นที่โล่ง งานวิจัยนี้นำเสนอการประมวลสัญญาณจากอุปกรณ์วัดลมบนกังหันลมของกลุ่มกังหันลม 32 ต้น กำลังการผลิต 80 เมกะวัตต์ ติดตั้งกระจายตามพื้นที่เชิงเขาและที่ราบ ตำแหน่งในการติดตั้งขึ้นกับความสะดวกในการขนส่งอุปกรณ์ ใช้ผลของการประมวลสัญญาณจากอุปกรณ์วัดลมบนกังหันลม จัดกลุ่มกังหันจากความสัมพันธ์ของทิศทางและความเร็วลม พบว่าสามารถแบ่งกลุ่มกังหันตามลักษณะภูมิประเทศติดตั้งได้สองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ทิศทางลมมีความแน่นอน ตั้งตั้งบริเวณที่ราบ ไม่มีสิ่งกีดขวางทิศลม และกลุ่มที่ทิศทางลมมีความไม่แน่นอน ติดตั้งใกล้บริเวณเทือกเขา ตามแนวยาวของสันเขา ส่งผลให้ลมที่พัดผ่านกังหันลมเหล่านี้มีความแปรปรวนแต่ยังคงมีแนวโน้มตรงตามทิศลมมรสุม ผลการวิเคราะห์สามารถจัดกลุ่มความสัมพันธ์รูปแบบของลมที่พัดผ่านกังหันลม ส่งข้อมูลลมไปยังกังหันลมต้นอื่นในกลุ่ม ด้วยหลักการควบคุมระบบสกาดา (SCADA) เพื่อให้กังหันลมต้นถัดไปเตรียมความพร้อมสำหรับการผลิตไฟฟ้า ซึ่งสามารถเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าได้ โดยแบ่งงานวิจัยเป็น 2 ช่วง ได้แก่ การเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าในช่วงลมมรสุมมีการเปลี่ยนแปลง และช่วงลมมรสุมมีความแน่นอน พบว่าการใช้วิธีการส่งสัญญาณผ่านระบบสกาดาให้กับกังหันลมในกลุ่มในช่วงลมมรสุมมีการเปลี่ยนแปลง สามารถเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าได้ โดยกังหันลมกลุ่มที่ลมมีทิศแน่นอนขณะผลิตไฟฟ้า มีปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้เพิ่มขึ้น 176,575.10 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อเดือน และกังหันลมกลุ่มที่ลมมีทิศไม่แน่นอนขณะผลิตไฟฟ้ามีปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้เพิ่มขึ้น 216,052.52 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อเดือน ซึ่งมากกว่าช่วงลมมรสุมมีความแน่นอนที่กังหันลมกลุ่มที่ลมมีทิศแน่นอนขณะผลิตไฟฟ้า มีปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้เพิ่มขึ้น 12,039.03 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อเดือน และกังหันลมกลุ่มที่ลมมีทิศไม่แน่นอนขณะผลิตไฟฟ้ามีปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้เพิ่มขึ้น 8,074.43 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อเดือน วิธีการประมวลสัญญาณลมจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในประเทศไทยในอนาคตต่อไป | en_US |
dc.description.sponsorship | Maejo University | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.title | การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมของกลุ่มกังหันด้วยวิธีการ ส่งผลประมวลสัญญาณระหว่างกังหันลมเพื่อควบคุมการผลิตไฟฟ้า | en_US |
dc.title.alternative | Increasing wind farm power generation efficiency by transfer the signal between wind turbines for controlling electricity generation | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Akaporn_kongjit.pdf | 8.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.