Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1122
Title: เวศวิทยาของหวายนั่งและแนวทางการอนุรักษ์ของชุมชน ตามแนวทางภูมิสังคม กรณีศึกษา: บ้านลาดสมบูรณ์ใหม่ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
Other Titles: The ecology and geosocial based guidelines for community's conservation of calamus acanthophyllus: a case study Lad-Som Boon Mai village, Huai yang sub-district, mueang Sakon Nakhon district, Sakon Nakhon province
Authors: นฤเบศน์ ดวงศรี
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: หวายนั่ง หรือชื่อเรียกอื่นๆ ตามท้องถิ่น เช่น หวายแย้ หวายแคระ และหวายน้อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ (Calamus acanthophyllus) เป็นหวายท้องถิ่น ซึ่งชุมชนท้องถิ่นนิยมรับประทาน เป็นพืชที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนเนื่องด้วยมีรสชาติดี มีสรรพคุณทางยารักษาโรค แต่อย่างไรก็ตามชุมชนยังขาดการอนุรักษ์ จึงอาจทำให้หวายท้องถิ่นชนิดนี้สูญพันธุ์ไปจากชุมชนแห่งนี้ จึงเป็นที่มาของงานวิจัย นิเวศวิทยาของหวายนั่งและแนวทางการอนุรักษ์ของชุมชนตามแนวทางภูมิสังคม กรณีศึกษา:บ้านลาดสมบูรณ์ใหม่ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพและนิเวศวิทยาของหวายนั่ง คือ พื้นที่ป่าเต็งรังที่มีการป้องกันไฟ (แปลง 1) พื้นที่ป่าเต็งรังที่ฟื้นตัวจากการทำการเกษตร (แปลง 2) และ พื้นที่ป่าเต็งรังที่มีไฟป่าเป็นประจำ (แปลง 3) โดยทำการวางแปลงตัวอย่างถาวรขนาด 50 x 100 เมตร พื้นที่ละ 1 แปลง ทำการวัดและบันทึกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก (DBH) ของพรรณไม้ยืนต้นทุกชนิดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป บันทึกตำแหน่งต้นไม้ทุกต้น พร้อมสุ่มวัดความสูง และวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางคอรากและความสูง ของหวายนั่ง และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์หวายนั่งของชุมชน โดยจากศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับชุมชนบ้านลาดสมบูรณ์ใหม่ ทั้งเอกสาร รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และนำผลการวิเคราะห์การวางแปลงตัวอย่างของ แปลงป่าธรรมชาติเพื่อ นำเสนอในเวทีชุมชนเพื่อหาแนวทางการจัดการ จัดเวทีชาวบ้าน (local voices) โดยการเลือกแบบเจาะจง (criterion-base selection) สัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (informal interview) และการสังเกต (observation) ผลการศึกษาพบว่า ความหนาแน่นของไม้ยืนต้น และพื้นที่หน้าตัดต่อพื้นที่ แปลงที่ 1 แปลงที่ 2 และ แปลงที่ 3 เท่ากับ 1,284, 1,196 1,842 ต้นต่อเฮกตาร์ และ 6.96, 7.93, 8.01 ตารางเมตร ตามลำดับ ค่าดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยา (IVI) สูงสุด ของแปลงที่ 1 2 และ 3 คือ แดง พลวง และ พลวง มีค่าเท่ากับ 86.23, 188.88 และ 112.86 ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนชนิด และดัชนีความหลากชนิด (Shannon-Wiener index) เท่ากับ 19, 17, 23 ชนิด และ 1.59, 1.16, 1.485 ตามลำดับ การกระจายตามชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกของไม้ยืนต้นทุกต้นในแปลงที่ 3 เป็นแบบ negative exponential บ่งบอกถึงสภาพการเติบโตทดแทนตามธรรมชาติเป็นไปด้วยดีและป่าอยู่ในช่วงการฟื้นตัว ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกและความสูงของไม้ยืนต้นในรูปสมการ hyperbolic มีค่า Hmax สูงสุดในแปลงที่ 1 เท่ากับ 18.44 เมตร ส่วนการศึกษานิเวศวิทยาบางประการของหวายนั่ง พบว่า จำนวนหวายนั่งที่พบในแปลง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่คอรากเฉลี่ย ขนาดความสูงค่าเฉลี่ย และ ขนาดความสูงสูงสุด ของทั้ง 3 แปลง พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการจัดการพื้นที่หรือการถูกรบกวนทั้งจากมนุษย์และไฟป่าส่งผลต่อปริมาณและการเติบโตของหวายนั่ง และแนวทางการอนุรักษ์ของชุมชนจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เก็บหาหวายนั่ง จำนวน 21 คน พบว่า 1) การอนุรักษ์หวายนั่ง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การอนุรักษ์หวายนั่ง อยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ การปลูกหวายนั่ง การดูแลรักษาหวายนั่ง 2) แนวทางพัฒนาการอนุรักษ์หวายนั่ง พบว่า การป้องกันรักษาหวายนั่ง ควรมีการจัดสรรพื้นที่ให้แก่ ประชาชนหรือชุมชน ต้องการให้มีการปลูกหวายนั่ง เพื่อทดแทนฟื้นฟูหวายนั่งที่ถูกทำลาย การดูแลรักษาหวายนั่ง ควรมีการสนับสนุนให้ผู้นำชุมชนและ ประชาชนหรือชุมชนในท้องถิ่นเข้ามามี ส่วนร่วมในการอนุรักษ์รักษาหวายนั่งในพื้นที่ไม่ให้ถูกทำลาย
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1122
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naruebet_Duangsri.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.