Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1121
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรเชษฐ์ วรเวชกุล-
dc.date.accessioned2022-07-04T08:16:37Z-
dc.date.available2022-07-04T08:16:37Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1121-
dc.description.abstractอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ให้บริการหลากหลายด้าน ทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนและเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระราชกรณียกิจ ด้านพฤกษศาสตร์ เกษตร ความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมที่สำคัญ จึงทำผู้คนยังให้ความสนใจและมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง การศึกษาความหลากชนิดและบทบาทต่อสิ่งแวดล้อมในด้านการกักเก็บคาร์บอน และการให้ร่มเงาของไม้ยืนต้น เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาคู่มือศึกษาพรรณไม้ภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จะสามารถช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้านพรรณไม้เพื่อให้ผู้มาเรียนรู้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความหลากชนิดของพรรณไม้ยืนต้น 2) เพื่อศึกษาบทบาทต่อสิ่งแวดล้อมในด้านการกักเก็บคาร์บอนและการให้ร่มเงาของไม้ยืนต้น 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคู่มือศึกษาพรรณไม้ภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ โดยการสำรวจ จัดจำแนกชนิด วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป และบันทึกข้อมูล ไม้ยืนต้นทุกต้น ทำการศึกษาในพื้นที่ให้บริการ 4 รูปแบบ คือ 1) พื้นที่รองรับกิจกรรมฐานการเรียนรู้ (Learning Knowledge Park: LKP) 2) พื้นที่รองรับกิจกรรมสันทนาการ (Recreation Area: RA) 3) พื้นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามฤดูกาล (Tree Collection: TC) และ 4) พื้นที่ริมทางเดินที่เป็นริ้วยาว (Sidewalk Area: SA) โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 13.90 เฮกตาร์ ผลการสำรวจ พบพรรณไม้ยืนต้นทั้งหมด 6,685 ต้น 264 ชนิด 185 สกุล และ 63 วงศ์ ชนิดที่พบจำนวนต้นสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ ราชพฤกษ์ (Cassia fistula L.) เท่ากับ 736 ต้น คิดเป็นร้อยละ 11.00 รองลงมา พิกุล (Mimusops elengi L.) โสกน้ำ (Saraca indica L.) ศรีตรัง (Jacaranda obtusifolia Humb. & Bonpl.) และ มะฮอกกานี (Swietenia macrophylla King.) เท่ากับ 327, 277, 272, และ 244 ตามลำดับ ความหนาแน่นของต้นไม้เฉลี่ยทั้งหมด เท่ากับ 480.93 ต้นต่อเฮกตาร์ และพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูงสุด ได้แก่ พื้นที่ TC มีความหนาแน่นเท่ากับ 1,278.88 ต้นต่อเฮกตาร์ รองลงมา พื้นที่ RA พื้นที่ LKP และ พื้นที่ SA มีความหนาแน่นเท่ากับ 540.37, 389.88 และ 315.34 ต้นต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ ขนาดความโตของชนิดพรรณไม้พบว่า ชั้นขนาดความโต 5.0-10.0 เซนติเมตร มีจำนวนต้นสูงสุดเท่ากับ 1,809 หรือคิดเป็นร้อยละ 27.06 และชนิดที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกสูงสุด คือ ผักเฮือด (Ficus lacor Buch.-Ham.) เท่ากับ 140.1 เซนติเมตร พื้นที่หน้ารวมตัดทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 168.59 ตารางเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่หน้าตัดเฉลี่ย เท่ากับ 12.12 ตารางเมตรต่อเฮกตาร์ โดยพื้นที่ RA มีพื้นที่หน้าตัดสูงสุดเท่ากับ 24.99 ตารางเมตรต่อเฮกตาร์ ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนรวมทั้งหมด เท่ากับ 426.83 เมกกะกรัม หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อพื้นที่เท่ากับ 30.7 เมกกะกรัมต่อเฮกตาร์ โดยชนิดพรรณไม้ที่มีการกับเก็บคาร์บอนสูงสุด คือ ผักเฮือด (Ficus lacor Buch.-Ham.) เท่ากับ 56.68 เมกกะกรัม คิดเป็นร้อยละ 13.28 รองลงมา ได้แก่ ราชพฤกษ์ (Cassia fistula L.) มะฮอกกานี (Swietenia macrophylla King.) แคนา (Dolichandrone serrulata (Wall. ex DC.) Seem.) และ ปีบ (Millingtonia hortensis L.f.) มีการกักเก็บคาร์บอนเท่ากับ 35.24 , 29.63, 22.48 และ 13.89 เมกกะกรัม ซึ่งพื้นที่ที่มีประมาณการกักเก็บคาร์บอนรวมสูงสุด ได้แก่ พื้นที่ TC เท่ากับ 66 เมกกะกรัมต่อเฮกตาร์ ในด้านการให้ร่มเงาของต้นไม้ จากการศึกษาโดยใช้ตัวแทนชนิดไม้ จำนวน 10 ชนิด ที่มีลักษณะความเด่นของพื้นที่หน้าตัดรวมสูงสุด พบว่า ราชพฤกษ์ (Cassia fistula L.) พิกุล (Mimusops elengi L.) ศรีตรัง (Jacaranda obtusifolia Humb. & Bonpl.) โสกน้ำ (Saraca indica L.) ประดู่แดง (Phyllocarpus septentrionalis Donn. Smith) และ สัก (Tectona grandis L.f.) มีการให้ร่มเงาเพิ่มขึ้นตามชั้นขนาดความโตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ มะฮอกกานี (Swietenia macrophylla King แคนา (Dolichandrone serrulata (Wall. ex DC.) และ ผักเฮือด (Ficus lacor Buch.-Ham.) Seem.) มีการให้ร่มเงาที่ลดลงตามขนาดชั้นความโตที่เพิ่มขึ้น และ ส่วน ปีบ (Millingtonia hortensis L.f.) พบว่ามีการให้ร่มเงาที่ไม่แตกต่างกันตามขนาดชั้นความโตที่เพิ่มขึ้น โดยผลการศึกษานี้ได้ใช้ประกอบแนวทางการพัฒนาคู่มือศึกษาพรรณไม้ ได้ 5 รูปแบบ ได้แก่ หนังสือรวบรวมพรรณไม้ คู่มือสำรวจและจำแนกพรรณไม้ ใบงานสำรวจพรรณไม้ภาคสนาม แผ่นพับประชาสัมพันธ์ และ สื่อดิจิทัล โดยแนวทางการพัฒนาคู่มือศึกษาพรรณไม้ภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์นี้จะสามารถเชื่อมโยงและปลูกฝังให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleความหลากชนิดของไม้ยืนต้นและบทบาทต่อสิ่งแวดล้อมบางประการเพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาคู่มือศึกษาพรรณไม้ในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeTree species diversity and their role for some environmental conditions to use in developing handbook for plantsin royal park rajapruek, Chiangmai provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worachet_Worawetchagun.pdf6.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.