Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1119
Title: ความต้องการการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
Other Titles: Needs for the promtion of non-toxin vegepan growing of garmers in Muangpan district, Lampang province
Authors: ศรัณยา ปัญญายืน
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ระดับความต้องการการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร และ 4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อความต้องการการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรที่ปลูกผักปลอดภัยสารพิษ ในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 163 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 43 ปี มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 6 คน มีรายได้จากการเพราะปลูกผักเฉลี่ย 128,343 บาทต่อปี มีขนาดพื้นที่ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษเฉลี่ย 9 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ มีประสบการณ์การปลูกผักปลอดสารพิษเฉลี่ย 17 ปี เข้าร่วมการฝึกอบรมเกี่ยวกับเกษตรปลอดภัยจากสารพิษเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี มีการจดบันทึกข้อมูลในการปลูกผักปลอดสารพิษเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี มีการตรวจสอบการตกค้างของสารเคมีเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษอยู่ในระดับปานกลาง และมีความต้องการการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยความต้องการมากสุด 3 ด้านแรกคือ ด้านการเตรียมแปลงปลูก ด้านการเตรียมเมล็ดพันธุ์ และด้านการปลูกและการดูแล ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวก ได้แก่ อายุ เงินทุนในการปลูกผักปลอดสารพิษ การตรวจสอบการตกค้างของสารเคมี และมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ และปัจจัยที่มีผลอย่างนัยสำคัญทางสถิติในทางลบ ได้แก่ การเป็นสมาชิกกลุ่มปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ และประสบการณ์ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ ผลการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาต่อความต้องการการส่งเสริมปลูกผักปลอดสารพิษจากสารพิษ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยของปัญหาในด้านการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมากสุด รองลงมาคือ ด้านการตลาด ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน และด้านการผลิต ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษมีข้อเสนอแนะคือ ควรจัดสรรแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรปลูกผัก ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น และการใช้สารชีวภัณฑ์ น้ำหมักไล่แมลง ช่วยขยายตลาดในการรับซื้อมากขึ้น เกษตรกรอยากส่งผลผลิตไปขายในห้าง ตลาดไท และผ่านพ่อค้าแม่ค้าคนกลางให้มากขึ้น การแก้ไขปัญหา ควรจัดการบริหารงานใหม่ เช่น ในเรื่องของการตรวจสารเคมีตกค้างในผัก งบประมาณ รายรับ-รายจ่าย และการขนส่ง ขาดการเยี่ยมเยียนแปลงเกษตรกร การสนับสนุนการรวมกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ และการสนับสนุนด้านพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1119
Appears in Collections:Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saranya_Panyayeun.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.