Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1116
Title: | ความรู้และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนม อำเภอสันกำแพงและอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Knoeledge and good adricultre practice for dairy cattle farm of farmers rearing dairy cattle in Sankampaeng and Mae On districts, Chiang Mai province |
Authors: | กาญจนา ปาลี |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม 2) ความรู้และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และ 4) ปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม อำเภอสันกำแพงและอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาโดยใช้ตัวอย่าง เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในอำเภอสันกำแพงและอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 180 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 50 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน แรงงานเฉลี่ย 4 คน มีรายได้จากการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 792,582.24 บาทต่อปี มีจำนวนโคนมเฉลี่ย 45 ตัว มีพื้นที่ในการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 9 ไร่ มีแหล่งเงินทุนสำหรับการเลี้ยงโคนม 2 แหล่ง คือ กู้ยืมจากสหกรณ์โคนมและกู้ยืมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 13 ปี รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 9 ครั้งต่อปี ติดต่อกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรที่ดีเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เข้าฝึกอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 73.33 และมีระดับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (x = 4.23) โดยด้านการจัดการน้ำ เฉลี่ย (x = 4.45) ด้านการผลิตน้ำนมดิบ (x = 4.42) ด้านสุขภาพสัตว์ (x = 4.33) ด้านอาหารสำหรับโคนม (x = 4.31) ด้านองค์ประกอบฟาร์ม (x = 4.29) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม (x = 4.26) ด้านการจัดการฟาร์ม (x = 4.13) ด้านสวัสดิภาพสัตว์ (x = 4.03) และด้านการบันทึกข้อมูล (x = 3.84) ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวก ได้แก่ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม (Sig.=.034) และปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวก ได้แก่ อายุ (Sig.=.008) จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (Sig.=.031) รายได้จากการเลี้ยงโคนม (Sig.=.039) และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรที่ดี (Sig.=.046) และปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางลบ ได้แก่ แหล่งเงินทุนสำหรับการเลี้ยงโคนม (Sig.=.031) ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม พบว่า ขาดเงินทุนในการปรับปรุงหรือก่อสร้างฟาร์มโคนมเพิ่มเติม ฟาร์มโคนมตั้งอยู่ในเขตชุมชน อาหารหยาบ ได้แก่ ข้าวโพด หญ้า มีไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงโคนม อาหารข้นสำหรับโคนมมีราคาแพง น้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภคภายในฟาร์ม แรงงานจ้างที่มาทำหน้าที่ดูแลเลี้ยงโคนมขาดความรู้ ความชำนาญในการเลี้ยงโคนม และโคนมมีปัญหาเกี่ยวกับกีบเท้า ผสมเทียมติดยาก โคนมคลอดใหม่รกค้าง และเกิดโรคต่างๆในโคนม อีกทั้งยังขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยารักษาโคนม ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจึงมีข้อเสนอแนะ คือ 1) ควรมีการจัดตั้งศูนย์ผลิตหรือรวบรวมอาหารหยาบที่มีคุณภาพไว้ให้เพียงพอ 2) ควรให้กรมปศุสัตว์มาควบคุมราคาอาหารข้นสำหรับโคนม 3) ควรให้สัตวแพทย์เข้ามาดูแลปัญหาเกี่ยวกับกีบเท้าของโคนม ติดตามผลการผสมเทียมโดยเฉพาะโคนมที่ผสมเทียมติดยาก และ 4) ให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคโคนม |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1116 |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanjana_Palee.pdf | 3.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.