Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1114
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการความรู้ด้านวิสาหกิจชุมชน ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Factors affecting theneed for knowledge of community enterprises of agricultural extension scholars, Chiang Mai province |
Authors: | เกียรติศักดิ์ หนุนยศ |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม 2) ระดับความรู้ด้านวิสาหกิจชุมชน 3) ความต้องการความรู้ด้านวิสาหกิจชุมชน 4) ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการความรู้ด้านวิสาหกิจชุมชน และ 5) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความต้องการความรู้ด้านวิสาหกิจชุมชนของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ จากการสุ่มตัวอย่างจำนวน 122 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุดและต่ำสุด และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุ ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับความต้องการความรู้ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ซึ่งได้ผลการวิจัยดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 37 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสาขาส่งเสริมการเกษตร อยู่ในตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับชำนาญการ มีอายุการทำงานเฉลี่ย 8 ปี อยู่ในสถานะโสด มีรายได้เฉลี่ย 21,405.74 บาท มีจำนวนสมาชิกครอบครัวเฉลี่ย 3 คน โดยเฉลี่ยมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเรื่องวิสาหกิจชุมชน การติดต่อประสานงานกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีการให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องวิสาหกิจชุมชนแก่เกษตรกร และการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่สนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 8 ครั้งต่อปี มีความรู้เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยของความรู้เท่ากับ 20.57 คะแนน จาก 25 คะแนน ผลการวิจัยเรื่องความต้องการความรู้เรียงลำดับความต้องการมากไปยังความต้องการน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการด้านการตลาดและลูกค้า ด้านการบริหารจัดการกลุ่มและสมาชิก ด้านการบริหารจัดการด้านบัญชีและการ เงินด้านการบริหารจัดการด้านผลผลิตและงานสนับสนุนการผลิต และด้านการปรับปรุงและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน แต่อย่างไรก็ตามความต้องการความรู้ทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการความรู้ด้านวิสาหกิจชุมชน พบว่า อายุและระดับตำแหน่ง มีความสัมพันธ์ต่อความต้องการความรู้ (sig < 0.05) สำหรับปัญหาเกี่ยวกับความต้องการความรู้ด้านวิสาหกิจชุมชนที่พบมากที่สุด ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการด้านการตลาดและลูกค้า และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรได้ให้ข้อเสนอแนะคือ ให้หน่วยงานในสังกัดมีการจัดการอบรมให้ความรู้ด้านวิสาหกิจให้แก่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปีละ 1 ครั้ง |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1114 |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kiattisak_Hnunyos.pdf | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.