Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1112
Title: | การประเมินประสิทธิภาพการดูดใช้ฟอสฟอรัสในข้าวพันธุ์ต่าง ๆ |
Other Titles: | Evaluation of phosphorus uptake efficiency in different rice varieties |
Authors: | ปรียาภรณ์ แสงเรือน |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | ฟอสฟอรัส (P) เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืชโดยเฉพาะในข้าว ฟอสฟอรัสช่วยเพิ่มความยาวรากและช่วยให้รากแตกแขนงได้ดี แต่อย่างไรก็ตามฟอสฟอรัสมักถูกตรึงและอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถดูดใช้ได้ โดยในดินกรดฟอสฟอรัสมักถูกตรึงด้วย Al และ Fe ในขณะที่ดินด่างฟอสฟอรัสถูกตรึงไว้ด้วย Ca ซึ่งพื้นที่สูงมักประสบปัญหาด้านฟอสฟอรัสต่ำ ส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวลดลง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการดูดใช้ฟอสฟอรัสในข้าวพันธุ์ต่างๆ ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ และเพื่อทดสอบผลผลิตและการตอบสนองของข้าวต่อระดับของปุ๋ยฟอสฟอรัสในแปลงข้าว โดยปลูกคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไทย 147 สายพันธุ์ ที่มาจากระบบนิเวศการปลูกที่แตกต่างกันในสารละลายธาตุอาหารที่มีฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ (KH2PO4 : K-P) และไม่เป็นประโยชน์ (Ca3O8P2 : Ca-P) จากการศึกษาพบว่า ข้าวแต่ละสายพันธุ์เจริญเติบโตในสารละลายที่มี K-P และ Ca-P ได้แตกต่างกัน พันธุ์ที่เจริญเติบโตในสารละลายที่มี K-P มีจำนวนต้นต่อกอและความสูงที่มากกว่าข้าวที่ปลูกในสารละลาย Ca-P ซึ่งทั้งสองลักษณะเป็นผลให้น้ำหนักแห้งต้นของของข้าวที่ปลูกในสารละลาย K-P มากกว่าข้าวที่ปลูกในสารละลาย Ca-P เช่นเดียวกัน แต่ลักษณะของความยาวราก มีผลตรงกันข้ามกัน คือ พันธุ์ข้าวที่ปลูกในสารละลาย Ca-P มีจำนวนรากลดลงและมีความยาวรากเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะที่ตอบสนองต่อสภาพฟอสฟอรัสต่ำ หลังจากนั้นคัดเลือกพันธุ์ข้าวให้เหลือ 22 สายพันธุ์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ซึ่งปลูกในสารละลายธาตุอาหารโดยอยู่ในรูปของฟอสฟอรัสรูปที่เป็นประโยชน์ KH2PO4 : K-P และฟอสฟอรัสรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ Ca3O8P2 : Ca-P, AlO4P : Al-P, FeO4P : Fe-P จากการศึกษาพบว่า ข้าวที่ปลูกในฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูป Ca-P มีการเจริญเติบโตใกล้เคียงกับข้าวที่ปลูกใน K-P บ่งชี้ถึงปริมาณฟอสฟอรัสที่ปลดปล่อยออกมาอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ คือ จำนวนรากและน้ำหนักแห้งรากที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ข้าวที่ปลูกในฟอสฟอรัสรูป Al-P และ Fe-P มีความยาวรากเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับต้นที่ปลูกในฟอสฟอรัสรูปที่เป็นประโยชน์ บ่งชี้ถึงฟอสฟอรัสที่ยังถูกตรึงไว้สูง ทำให้ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์มีปริมาณต่ำ โดยเห็นได้ว่าฟอสฟอรัสที่ตรึงอยู่กับ Ca ปลดปล่อยออกมาได้มากกว่าการตรึงอยู่กับ Al หรือ Fe ดังนั้นข้าวที่ปลูกในดินด่างอาจแสดงอาการขาดฟอสฟอรัสน้อยกว่าดินกรด หลังจากนั้นคัดเลือกพันธุ์ข้าวให้เหลือ 4 สายพันธุ์ โดยปลูกในสภาพไร่ภายใต้โรงเรือน จากการศึกษาพบว่า การเจริญเติบโตของข้าวทั้งในระยะ vegetative และ reproductive ได้รับอิทธิพลจากปริมาณฟอสฟอรัส โดยการเพิ่มระดับปุ๋ยฟอสฟอรัส ส่งผลให้ข้าวเจริญเติบโตสูงขึ้น นอกจากนี้ข้าวแต่ละพันธุ์มีศักยภาพในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันในแต่ละระดับฟอสฟอรัส โดยพันธุ์บือขอแผ่ให้ผลผลิตสูงแม้ว่าจะปลูกในสภาพฟอสฟอรัสต่ำ ซึ่งอาจเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีฟอสฟอรัสต่ำต่อไป |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1112 |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preeyaporn_Sangruan.pdf | 4.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.