Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1111
Title: | การตัดสินใจเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | Decision making on the participation in a large agricultural extension system project of rice farmers in Wiang Pa Pao district, Chiang Rai province |
Authors: | ถิรพันธ์ ปิ่นหย่า |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คือ 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ 3) เหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยการวิจัยนี้ใช้วิธีแบบผสม คือ วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก จากกลุ่มประธานนาแปลงใหญ่ในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงรายโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างวิธีแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 ราย วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยจำแนกเป็นประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสัมภาษณ์ โดยได้ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 175 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน ได้แก่ การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า เหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่จากกลุ่มประธานตามกระบวนการตัดสินใจทั้ง 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหา ขั้นตอนที่ 2 การพิจารณาค้นหาทางเลือก ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลทางเลือก และขั้นตอนที่ 4 การตัดสินใจเลือกทางเลือก โดยมีประเด็นที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรวมกลุ่ม 2) ด้านการผลิต และ 3) ด้านการตลาด ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีสถานภาพสมรส สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีแรงงานในครัวเรือนที่ใช้ในการทำนาเฉลี่ย 2 คน พื้นที่ในการทำนาเฉลี่ย 5.85 ไร่ มีรายได้ในการทำนาเฉลี่ย 74,474.29 บาทต่อปี แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการทำนาส่วนใหญ่ใช้ทุนของตนเอง มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 30 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 2 กลุ่ม การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เฉลี่ยประมาณ 3 ครั้งต่อเดือน การติดต่อเจ้าหน้าที่ทางด้านการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี การเข้าฝึกอบรมหรือศึกษาดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่อยู่ในระดับมาก เฉลี่ย 9.22 คะแนน และเกษตรกรมีการให้ความสำคัญของเหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.38 สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ได้แก่ ระดับการศึกษา การรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ด้านการเกษตร การฝึกอบรมหรือศึกษาดูงานด้านการเกษตร และความรู้เกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ ได้แก่ อายุ ปัญหาเกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ที่สำคัญ ได้แก่ 1) ขั้นตอนในการเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่มีเงื่อนไขในการสมัครเข้าร่วมโครงการยุ่งยาก 2) การฝึกอมรมเน้นวิชาการมากกว่าการปฏิบัติ 3) ปัญหาเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สนับสนุนไม่เพียงพอ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ที่สำคัญ ได้แก่ 1) โครงการฯควรลดขั้นตอนในการเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ 2) การฝึกอมรมควรเน้นวิชาการให้สมดุลกับการปฏิบัติ 3) โครงการฯควรสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวให้มากขึ้นและเร็วขึ้น |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1111 |
Appears in Collections: | Liberal Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thirapan_Pinya.pdf | 2.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.