Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/111
Title: KNOWLEDGE MANAGEMENT OF ANABAS TESTUDINEUS (BLOCH) AQUACULTURE OF FARMERS IN HANG DONG DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE.
การจัดการความรู้ในการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทยของเกษตรกรอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Kwanfa Thakwang
ขวัญฟ้า ถากว้าง
Manawin Songkroh
มาณวิน สงเคราะห์
Maejo University. Business Administration
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: This research aimed to explore knowledge management process of farmers in Anabas testudineus (Bloch) aquaculture in Hang Dong district, Chiang Mai province. The data were collected through an interview with 7 farmers in Climbing Perch aquaculture in Hang Dong district, Chiang Mai, The interviews were separated into 3 parts: (1) context of Climbing Perch aquaculture farmers; (2) knowledge management process in Climbing Perch aquaculture farmers; and (3) knowledge management in Climbing Perch farmers. The collected data were taken for qualitative analysis and report. The research results were as follows. From the context of farmers’ common climbing, it was found that the farmers had established a group with a leader. This group consisted of 6 males and 1 female with the age ranging from 29 to 46 years and 3 months to 2 years of experience. They have 1 to 3 common climbing perch ponds with the farming area of 50 square meters to 3 rai 2 ngan (5,600 square meters). Each pond had the release rate of baby breed of 1,500 to 12,000 common climbing perch babies with the total production of 300 kilograms to 8,000 kilograms annually while there were up to 2 breeding cycles each year. The farmers had 2 types of knowledge, which were tacit knowledge and explicit knowledge. The problems found from the study were fish diseases, feeding rate, and antibiotic calculation, while they also needed more management knowledge. From the knowledge management process in common climbing perch farming of the farmers, it was found that they had a considerable amount of knowledge, but lacked of the correct understanding of how to farm and wanted to develop their knowledge from the outside by inviting experts to explain in academic term, fish process marketing term, and common climbing perch farming performance development term in order to develop their farming method and allow them to share their knowledge with interested people. From the knowledge management in common climbing perch farming of the farmers, it was found that they had their management as follows: 1) Knowledge Indication: The farmers who farmed common climbing perch could divided the farming process into 6 steps including the preparation of ponds, first period disease prevention, release of baby breed, feeding of each period, medication when the fish have disease, and catching of the produced common climbing perch. 2) The Creation and Finding of Knowledge: The farmers found knowledge by personally visited the succeed sites and learn from the seminars of experts, then used those knowledge in their field. 3) The Management of Knowledge: The farmers had noted and organized the knowledge from research and field works into a form of textbook. 4) Knowledge Calculation and Modernization: The farmers used the food ratio formulas to calculate their own rate, which yielded pleasant results for them. 5) Knowledge Accessibility: The farmers wanted easier accessibility for interested people, so they used their note and convert into books and gave them to Ban Rong Vua village chief, Nam Phra Sub-district Administrative Organization, and kept in the group. 6) Exchange of Knowledge: The farmers had created a group in the social media to exchange their knowledge among their group and people who were interested in visiting the farming ponds. 7) Learning: The farmers used the knowledge to experiment on their field and adjust with the field that had different properties from what they had learned. They could solve the problems themselves.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ในการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทยของเกษตรกร อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บข้อมูล 3 ส่วน (1) บริบทในการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทยของเกษตรกร (2) ขั้นตอนการจัดการความรู้ในการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทยของเกษตรกร (3) การจัดการความรู้ในการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทยของเกษตรกร จากการสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาหมอไทย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 7 ราย แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เชิงคุณภาพและรายงานผล มีผลวิจัยดังนี้ บริบทในการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทยของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรมีการจัดตั้งกลุ่มและกำหนดหัวหน้ากลุ่ม โดยสมาชิกเป็นเพศชาย 6 ราย และเพศหญิง 1 ราย มีอายุมีอายุ 29 ถึง 46 ปี มีประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยง 3 เดือน ถึง 2 ปี พื้นที่เพาะเลี้ยงปลาหมอไทยมีบ่อเพาะเลี้ยง 1 ถึง 3 บ่อ และมีพื้นที่เพาะเลี้ยง 50 ตารางเมตร ถึง 3 ไร่ 2 งาน มีอัตราการปล่อยลูกพันธุ์ปลาตั้งแต่ 1,500 ตัว ถึง 12,000 ตัวต่อบ่อ ผลผลิตที่ได้ 300 กิโลกรัม ถึง 8,000 กิโลกรัมต่อปี และระยะรอบในการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย 1 ครั้งถึง 2 ครั้งต่อปี ความรู้ของเกษตรกรมี 2 รูปแบบ คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) และความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ส่วนปัญหาที่พบ คือ โรคปลา ปริมาณอัตราการให้อาหาร และการคำนวณยาปฏิชีวนะ ส่วนความรู้ที่ต้องการเพิ่มเติม คือ ความรู้ด้านการจัดการ ขั้นตอนการจัดการความรู้ในการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทยของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรมีความรู้พอสมควร แต่ขาดความเข้าใจในวิธีการเพาะเลี้ยงที่ถูกต้อง มีความต้องการที่จะพัฒนาความรู้จากแหล่งความรู้ภายนอก โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ทางด้านวิชาการ ด้านการตลาดการแปรรูปสัตว์น้ำ และการพัฒนาศักยภาพในการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย เพื่อในการพัฒนาการเพาะเลี้ยง และการให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจได้ การจัดการความรู้ในการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทยของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาหมอไทยมีกระบวนการจัดการความรู้ตามกรอบกระบวนการจัดการความรู้ดังนี้ 1) การบ่งชี้ความรู้ เกษตรกรสามารถสรุปขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงได้ 6 ขั้นตอน คือ การเตรียมบ่อเพาะเลี้ยง การป้องกันโรคระยะแรก การปล่อยลูกพันธุ์ปลา การให้อาหารปลาแต่ละช่วง การรักษาและป้องกันโรคเมื่อเกิดขึ้น และการจับผลผลิต 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ เกษตรกรแสวงหาความรู้จากการไปศึกษาดูงานด้วยตนเองจากแหล่งผู้ที่ประสบความสำเร็จ และเรียนรู้จากการสัมมนาที่มีวิทยากรมาให้ความรู้แล้วมีการจดบันทึกไว้ และได้นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ตนเอง 3) การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ เกษตรกรได้จดบันทึก และมีการแปลงความรู้ที่ได้จากการจดบันทึก จากการสืบค้น จากการปฏิบัติ และลงมือทำของเกษตรกรเอง เพื่อนำมาทำเป็นระบบที่ชัดเจน โดยการนำความรู้ที่ได้มาทำเป็นตำรา 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เกษตรกรมีการนำสูตรการให้อาหารมาคำนวณใช้กับบ่อเพาะเลี้ยงของตนเอง ซึ่งผลที่ได้เป็นที่พอใจแก่เกษตรกร 5) การเข้าถึงความรู้ เกษตรกรต้องการให้ผู้ที่สนใจเข้าถึงความรู้นี้ได้ง่ายขึ้นจึงได้นำตำราที่ได้มาจากการจดบันทึก แล้วแปลงเป็นลายลักษณ์อักษรนำไปมอบให้แก่ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน บ้านโรงวัว องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำแพร่ และเก็บไว้กับกลุ่ม 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ เกษตรกรมีการจัดตั้งกลุ่มในโซเชียล เพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้กันในกลุ่ม และผู้ที่สนใจที่เข้ามาเยี่ยมชมบ่อเพาะเลี้ยง 7) การเรียนรู้ เกษตรกรได้นำความรู้นั้นไปทดลองใช้กับพื้นที่ของตนเอง แล้วประยุกต์ใช้ความรู้นั้นให้เข้ากับสภาพพื้นที่ที่แตกต่างไปจากที่ได้เรียนรู้มา สามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาเองได้
Description: Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration))
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/111
Appears in Collections:School of Administrative Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5806401035.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.