Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1109
Title: บทบาทของผู้นำในการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Roles of leaders in the operation of community enterprises in Chang Mai province
Authors: นิศาชล เตจ๊ะขอด
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นำในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของผู้นำในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของผู้นำในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รองประธานกลุ่มและเลขานุการ จำนวน 328 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถอถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลเป็นประธานกลุ่ม รองประธานกลุ่มและเลขานุการกลุ่ม 1) ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สถานภาพสมรส มีระยะเวลาที่อยู่อาศัยในพื้นที่เฉลี่ย 46 ปี มีรายได้หลักจากการทำงานประจำเฉลี่ย 12,655 บาทต่อปี มีรายได้จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 10,792 บาทต่อปี ได้รับเงินปันผลจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 8,476 บาทต่อปี มีหนี้สิ้นภายในกลุ่มเฉลี่ย 24,032 บาทต่อปี ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการเป็นผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 8 ปี ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการเป็นผู้นำกลุ่มอื่นๆ มีการเข้าร่วมประชุมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี มีการเข้าร่วมศึกษาดูงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 1 ครั้งต่อปี และได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน (ทุกช่องทาง) เฉลี่ย 4 ครั้งต่อปี 2) จากการศึกษาบทบาทของผู้นำในการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.65) โดยมีบทบาทด้านโครงสร้างและการนำองค์กรอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.64) ด้านการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.68) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสมากชิกกลุ่มอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.54) ด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืนอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.92) ส่วนในด้านการสร้างและพัฒนาภาคีเครือข่ายอยู่ในระดับปานกลาง (เฉลี่ย 3.47) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์กับบทบาทของผู้นำในการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ทุกด้าน ได้แก่ รายได้จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวนเงินปันผล และการเข้าร่วมประชุมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig < 0.01) ปัญหาและอุปสรรคของผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ การจัดจำหน่ายสินค้ายังไม่มีตลาดเข้ามารองรับ ขาดความรู้ในการจัดจำหน่ายสินค้าในช่องทางออนไลน์ ขาดเทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัย ปัญหาด้านการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายภายในกลุ่ม รวมถึงการศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดการควบคุมดูแลบริหารจัดการองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่ม ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างกลุ่มเครือข่ายให้มีมากเพิ่มขึ้นสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มเครือข่ายได้
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1109
Appears in Collections:Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nisachon_Techakhon.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.