Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1106
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ณรงค์ เป็งเส้า | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-04T07:54:53Z | - |
dc.date.available | 2022-07-04T07:54:53Z | - |
dc.date.issued | 2019 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1106 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล ลักษณะทางเศรษฐกิจ และลักษณะทางสังคม 2) การมีส่วนร่วมของประชาชน 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 4) แนวทางในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่ทา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ อย่างยั่งยืน รวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์จากประชาชนในตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 368 ราย ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย simple random sampling และการสนทนากลุ่ม (focus group) โดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำหมู่บ้านผู้เรื้องการจัดการทรัพยากรป่าไม้และผู้อาวุโสในหมู่บ้านจำนวน 9 คนใช้ ใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ยที่ 54 ปี มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีสถานภาพสมรสแล้ว ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้ต่อปีของครัวเรือน เฉลี่ย 40,061 บาทต่อปี มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 3 ไร่ ต่อครัวเรือน ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฝึกอบรมและดูงาน และไม่เคยติดต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในขณะเดียวกันพบว่าประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมในหมู่บ้าน มีสถานภาพหรือตำแหน่งทางสังคม ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้จากเสียงตามสายเป็นส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน เฉลี่ย 52 ปี ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก (x̄=3.55) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าขั้นการตัดสินใจ (x̄=3.33) และขั้นการประเมินผล (x̄=3.33) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนขั้นการดำเนินการ (x̄=3.54) อยู่ในระดับมาก และขั้นการรับผลประโยชน์ (x̄=3.99) อยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่ทา พบว่า เพศ การฝึกอบรมและดูงาน และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากการศึกษาแนวทางในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่ทา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีรูปแบบในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ 5 แนวทาง 1 ข้อเสนอแนะ การจัดการป่าไม้เพื่อการอนุรักษ์ โดยมีการกำหนดแนวเขตและส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นตำบลแม่ทาสามารถใช้สอยพื้นที่ป่าไม้ให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรป่าไม้ การจัดการป่าไม้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาตำบล เป็นการสร้างความมั่นคงของทรัพยากรป่าไม้และระบบนิเวศป่าชุมชน การจัดการป่าไม้เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นการจัดการพื้นที่ป่าไม้ให้มีศักยภาพในการอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนทุกภาคส่วน การปฏิรูปการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน กระบวนการการบริหารจัดการที่ครอบคลุมทุกด้าน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่ามีการส่งเสริมในด้านระเบียบกฎหมาย ส่งเสริมให้ประชานชนได้รู้ระเบียนกฎหมายและเข้าใจในบทบาทหน้าที่สมาชิกป่าชุมชนหมู่บ้าน ข้อเสนอแนะ ภาครัฐต้องยอมรับประชาชนตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ให้ดูแลรักษาป่าไม้เองเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนตำบลแม่ทาและป่าไม้ | en_US |
dc.description.sponsorship | Maejo University | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.title | การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่ทา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | People participation in forest resource management in Pa Khun Mae Tha national reseved forest area, Mae Tha sub-district, Mae On district, Chiang Mai province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Liberal Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Narong_Pangsao.pdf | 3.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.