Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1103
Title: | ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อปริมาณน้ำมัน ของชาน้ำมันดอกขาว (Camellia oleifera Abel.) |
Other Titles: | Effects of plant growth regulators on oil content of oil tea seed. (Camellia oleifera Abel.) |
Authors: | วิรวรรณ สิทธิศุภพงศ์ |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | ชาน้ำมันดอกขาว (Camellia oleifera Abel.) เป็นหนึ่งในพืชน้ำมันที่มีการปลูกเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมัน สำหรับการบริโภคและอุปโภคภายในประเทศ รวมถึงเป็นการส่งเสริมการปลูกป่าและเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำมันในเมล็ดชาน้ำมัน ประกอบด้วย 2 การทดลอง คือ 1) ศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการเพิ่มปริมาณน้ำมันในเมล็ดชาน้ำมันดอกขาว โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 3 แปลงทดลอง (block) ในแต่ละแปลงทดลองมี 10 สิ่งทดลอง โดยพ่นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในระดับความเข้มข้นต่างๆ ได้แก่ Brassinosteroids; BR (0.25, 0.5 และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร) Forchlorfenuron; CPPU (10, 30 และ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร) สารผลิตภัณฑ์ Precus® (50, 150 และ 250 มิลลิกรัมต่อลิตร) และชุดควบคุม (ไม่พ่นสาร) จากการทดลองพบว่า การพ่นสาร BR ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร การพ่นสารผลิตภัณฑ์ Precus® 150 มิลลิกรัมต่อลิตร และการพ่นสาร CPPU 50 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้มีปริมาณน้ำมันเฉลี่ยสูงสุดคือร้อยละ 48.63, 48.35 และ 46.53 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับชุดควบคุมที่ไม่มีการพ่นสารใดๆ พบว่าเมล็ดชาน้ำมันมีปริมาณน้ำมันเฉลี่ยน้อยที่สุดคือร้อยละ 39.00 ซึ่งมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง และ 2) ศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อชนิดกรดไขมันของน้ำมันเมล็ดชา โดยพบว่า การพ่นสาร BR ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และ CPPU ที่ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันเพิ่มมากขึ้นและมีปริมาณใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 47.76 และ 46.40 ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับชุดควบคุม ที่มีปริมาณน้ำมันเพียงร้อยละ 39.27 และการพ่นสารผลิตภัณฑ์ Precus® 150 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่งผลให้เมล็ดชาน้ำมันมีน้ำหนักเฉลี่ยมากที่สุดคือ 13.47 กรัม จากการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเหล่านี้ส่งผลต่อปริมาณกรดไขมันของน้ำมันเมล็ดชา ซึ่งตรวจพบกรดไขมันอิ่มตัว 1 ชนิด คือ กรดปาล์มิติก ในขณะที่ชุดควบคุมตรวจพบกรดไขมันอิ่มตัวถึง 2 ชนิด คือ กรดปาล์มิติก และกรดสเตียริก แต่ทุกสิ่งทดลองยังคงมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณสูงคือ กรดโอเลอิก และกรดลิโนเลอิก ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1103 |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wirawan_Sitthisupaphong.pdf | 2.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.